Page 345 - kpi16531
P. 345

32       นวัตกรรมการพัฒนารายได้
                ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น


                          = โครงการปาก้า (PAKA)  องค์การบริหารส่วนจังหวัดกระบี่

                            โครงการปาก้า (PAKA) เป็นโครงการพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่ขององค์การบริหาร

               ส่วนจังหวัดกระบี่ กล่าวคือ หลังจากที่ทางองค์การบริหารส่วนจังหวัดกระบี่ ได้ย้ายศูนย์เครื่องจักรกล
               ออกจากพื้นที่บริเวณถนนท่าเรือ ต.ปากน้ำ อ.เมือง ไปยังสถานที่แห่งใหม่ทำให้สถานที่เดิมว่างลง
               ทางองค์การบริหารส่วนจังหวัดกระบี่ ได้มีแนวคิดที่จะพัฒนาให้เป็นพื้นที่ส่งเสริมการท่องเที่ยว

               เนื่องจากบริเวณสถานที่ดังกล่าวมีศูนย์จำหน่ายสินค้าโอทอปรวมอยู่ด้วย แต่สร้างรายได้เพียง
               เล็กน้อยจากค่าเช่ารายเดือน (3,000 บาทต่อเดือน) ให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัดกระบี่เท่านั้น
               นอกจากนั้นยังต้องการดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาแวะเยี่ยมเยือนตัวเมืองกระบี่ นอกเหนือจากการไป

                                                                                      4
               ท่องเที่ยวพักผ่อนริมชายหาดหรือตามเกาะต่างๆ เท่านั้น (สฤษดิ์พงษ์ เกี่ยวข้อง,  การสื่อสารระหว่าง
               บุคคล, 25 มิถุนายน 2557) ทางองค์การบริหารส่วนจังหวัดจึงได้พยายามติดต่อนักลงทุนเข้ามา
               ลงทุนเชิงท่องเที่ยว ในที่สุดก็ได้นักลงทุนภาคเอกชนเข้ามาลงทุนพัฒนาพื้นที่ดังกล่าว


                            โครงการปาก้าเป็นโครงการก่อสร้างและพัฒนาพื้นที่บริเวณ 7 ไร่ ขององค์การ
               บริหารส่วนจังหวัดกระบี่ ซึ่งปัจจุบันเป็นที่ตั้งศูนย์โอทอปให้เป็น Community Mall โครงการปาก้า
               เป็นโครงการพัฒนาเศรษฐกิจในท้องถิ่นที่ใช้กลยุทธ์ในการพัฒนาแบบ PPP หรือการสนับสนุน

               ความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน (PPP) ในรูปแบบของ Build-Transfer-Operate (BTO)
               โดยให้ภาคเอกชนเข้ามาลงทุนพัฒนาพื้นที่ดังกล่าวขององค์การบริหารส่วนจังหวัดกระบี่ให้เป็น
               ไลฟ์สไตล์มอลล์แนวใหม่เพื่อการท่องเที่ยว โดยมีระยะเวลาการให้เช่าและพัฒนาพื้นที่ทั้งหมด 30 ปี
               รวมทั้งมีเงื่อนไขหลักคือ เอกชนต้องสร้างและปรับปรุงบ้านพักข้าราชการที่มีอยู่เดิมให้ทางองค์การ

               บริหารส่วนจังหวัดกระบี่ด้วย โครงการปาก้าใช้งบลงทุนกว่า 300 ล้านบาท มีการวางแผนก่อสร้างโรงแรม
               โรงภาพยนตร์ ร้านค้า ร้านอาหาร ศูนย์ Wellness และศูนย์การแสดงต่างๆ คาดว่าโครงการดังกล่าว

               จะแล้วเสร็จในปี 2559 (สฤษดิ์พงษ์ เกี่ยวข้อง, การสื่อสารระหว่างบุคคล, 25 มิถุนายน 2557)

                            จากโครงการพัฒนาเศรษฐกิจดังกล่าว องค์การบริหารส่วนจังหวัดกระบี่จะได้
               ประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อมมากมาย ดังนี้ ได้บ้านพักข้าราชการ, ได้รายได้จากการเก็บค่าเช่า

               พื้นที่และสิ่งปลูกสร้าง, ได้กรรมสิทธิ์โรงแรม, ได้ส่งเสริมการสร้างความร่วมมือและความสัมพันธ์อันดี
               กับภาคเอกชน และที่สำคัญคือการได้พัฒนาสินทรัพย์หรือที่ดินที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์และสามารถ
               เพิ่มมูลค่าทวีคูณทางเศรษฐกิจให้กับองค์การบริหารส่วนจังหวัดกระบี่ได้ ไม่ว่าจะเป็นมูลค่าที่เกิดจาก
               เงินหมุนเวียนและเงินรายได้จากการลงทุน  มูลค่าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่เพิ่มสูงขึ้น  การจ้างงาน

               ที่เพิ่มขึ้น  ภาษีอากรที่จะเก็บได้เพิ่มขึ้น ฯลฯ

                           = โรงเผาขยะมูลฝอยชุมชนและผลิตไฟฟ้า เทศบาลนครภูเก็ต


                            ภูเก็ตเป็นหนึ่งในจังหวัดแห่งแรกๆ ที่มีการดำเนินการกำจัดขยะอย่างเป็นระบบ
               เทศบาลนครภูเก็ตเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบการกำจัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลของ
               องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้งหมด 19 แห่ง รวมทั้งเอกชนต่างๆ ในจังหวัดภูเก็ต  ภูเก็ตมีระบบ

               กำจัดขยะ 2 รูปแบบ ได้แก่ การฝังกลบในพื้นที่ 134 ไร่ และการเผาโดยใช้เตาเผาขยะซึ่งสามารถ
               ผลิตกระแสไฟฟ้าจากการกำจัดขยะดังกล่าวได้ด้วย  ปัจจุบันภูเก็ตมีเตาเผาขยะมูลฝอยชุมชน 2 ชุด
               กล่าวคือ


                  4   คุณสฤษดิ์พงษ์ เกี่ยวข้อง  ดำรงตำแหน่งรองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดกระบี่
   340   341   342   343   344   345   346   347   348   349   350