Page 341 - kpi16531
P. 341

32       นวัตกรรมการพัฒนารายได้
                ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น


               แปรรูปในพื้นที่ ระบบโลจิสติกส์ และความต้องการของตลาด ตลอดจนมีการจัดระเบียบเชื่อมโยง
               เครือข่ายระหว่างผู้ผลิตกับผู้รับซื้ออย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการดำเนินการเกษตรกรรม

               ที่เป็นระบบตั้งแต่ต้นน้ำไปถึงปลายน้ำ และสร้างแรงจูงใจให้ภาคอุตสาหกรรมเข้าไปลงทุนตั้งโรงงาน
               ในบริเวณดังกล่าวมากขึ้น เช่น จังหวัดบึงกาฬมีพื้นที่ปลูกยางพารา 8.4 แสนไร่ ส่งผลให้มีนักลงทุน
               จากหลายบริษัททั้งในและต่างประเทศเข้าไปตั้งโรงงานยางพารา อาทิ บริษัทไทยรับเบอร์ลาเท็กซ์
               จำกัด ซึ่งเป็นโรงงานรุ่นแรกที่เข้ามาประกอบกิจการรับซื้อน้ำยางพาราสด  บริษัทไทยฮั้วยางพารา

               จำกัด (มหาชน) และบริษัทรับเบอร์แลนด์โปรดักซ์ จำกัด ดำเนินธุรกิจรับซื้อเศษยางก้อนถ้วยหรือ
               ขี้ยางและยางแผ่น และบริษัทไทยอิสเทิร์น จำกัด ซึ่งเป็นโรงงานรับซื้อเศษยางถ้วยและยางแผ่น และ

               อยู่ในระหว่างขยายกิจการเพิ่มเติม  รวมทั้งมีนักลงทุนจากประเทศจีนได้เข้าไปลงทุนตั้งโรงงาน
               ด้วยเช่นกัน (สยามธุรกิจ, 2557)

                            อย่างไรก็ตาม เกษตรโซนนิ่งขึ้นอยู่กับความสมัครใจของเกษตรกรซึ่งอาจจะ

               เข้าร่วมโครงการหรือไม่ก็ได้  แต่รัฐบาลมีการนำกลไกราคามาเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการจูงใจให้
               เกษตรกรเข้าร่วมโครงการ กล่าวคือ เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการจะได้รับการประกันราคาผลผลิต
               ทางการเกษตร หรืออาจกล่าวได้ว่า กลไกการประกันราคาดังกล่าวเป็นการบังคับโดยทางอ้อมให้
               เกษตรกรเข้าร่วมโครงการนั่นเอง นอกจากนั้น เกษตรโซนนิ่งยังได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็น

               นโยบายที่ไม่อาจช่วยแก้ไขปัญหาและพัฒนาเศรษฐกิจของท้องถิ่นอย่างยั่งยืนและแท้จริง เนื่องจาก
               ใช้หลักการตลาดนำการผลิตและการพัฒนาจากการจัดพื้นที่หรือโซนนิ่งดังกล่าวอาจเป็นไปตามความ

               ต้องการของนายทุนมากกว่าประชาชนในท้องถิ่นเอง (ธิดา จิราสิต, 2556)

                          = การจัดผังเมืองและพัฒนาชุมชนย่านเมืองเก่าภูเก็ต

                            เทศบาลนครภูเก็ตได้มีการจัดผังเมืองและพัฒนาบริเวณชุมชนย่านเมืองเก่า

               ซึ่งครอบคลุมพื้นที่บริเวณถนนถลาง อ.เมือง จ.ภูเก็ต ซึ่งเป็นถนนที่มีความเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของ
               จังหวัด ถนนเส้นนี้มีระยะทางประมาณ 450 เมตร มีอาคารบ้านเรือนเป็นตึกแถวและเป็น
               สถาปัตยกรรมในรูปแบบที่เรียกว่า คลาสสิค-เรเนสซองส์ (Classic-Renaissance) แบบชิโนโปรตุกีส

               (Sino-Portuguese)  รวมทั้งศิลปะแบบจีนผสมไทย ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากปีนังและสิงคโปร์
               (สำนักงานเทศบาลนครภูเก็ต, ม.ป.ป.)  เทศบาลนครภูเก็ตเล็งเห็นถึงความสำคัญในเชิงวัฒนธรรม
               ของบริเวณดังกล่าวและต้องการส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่ในรูปแบบของการส่งเสริม
               การท่องเที่ยวจึงได้ดำเนินการจัดระบบสายไฟฟ้าเคเบิ้ลและระบบสายเคเบิ้ลโทรศัพท์ให้อยู่ใต้ดิน

               เพื่อปรับปรุงทัศนียภาพบนถนนเส้นดังกล่าว รวมทั้งปรับปรุงระบบสาธารณูปโภคอื่นๆ เช่น ระบบ
               ท่อระบายน้ำ พื้นผิวถนน และระบบไฟฟ้าบนถนน ถนนถลางถือเป็นถนนสายแรกในจังหวัดภูเก็ต

               ที่ปลอดจากสายไฟฟ้า ทั้งนี้โครงการพัฒนาเศรษฐกิจดังกล่าวใช้งบประมาณทั้งหมดประมาณ
               19.2 ล้านบาท ในอนาคตเทศบาลนครภูเก็ตมีแผนที่จะพัฒนาระบบสาธารณูปโภคและปรับปรุง
               ทัศนียภาพในย่านเมืองเก่าอื่นๆ ของภูเก็ต เช่น ถนนดีบุก ถนนเยาวราช ถนนกระษัตรี เป็นต้น
               เพื่อความเป็นระเบียบและสวยงาม ตลอดจนเพื่อส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจในท้องถิ่นโดยเน้นการ

               ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมต่อไป (ผู้จัดการออนไลน์, 2552)
   336   337   338   339   340   341   342   343   344   345   346