Page 339 - kpi16531
P. 339

322      นวัตกรรมการพัฒนารายได้
                ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น


                                   (1)  สิทธิและประโยชน์ตามประเภทกิจการ (Activity-based incentives)
                                        โดยแบ่งเป็น 8 ประเภทหลัก ได้แก่ เกษตรกรรมและผลิตผลจาก

                                        การเกษตร  เหมืองแร่ เซรามิกส์ และโลหะขั้นมูลฐาน อุตสาหกรรมเบา
                                        ผลิตภัณฑ์โลหะ เครื่องจักร และอุปกรณ์ขนส่ง  อุตสาหกรรม
                                        อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า  อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ กระดาษ และ
                                        พลาสติก  และกิจการบริการและสาธารณูปโภค ซึ่งกิจการแต่ละประเภท

                                        จะได้สิทธิและประโยชน์ไม่เท่ากันขึ้นกับหลักเกณฑ์และการจัดกลุ่มของ
                                        คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน และ

                                    (2)  สิทธิและประโยชน์เพิ่มเติมตามคุณค่าของโครงการ (Merit-based

                                        incentives) โดยสิทธิประโยชน์ประเภทที่ 2 เป็นการให้เพื่อจูงใจและ
                                        กระตุ้นให้มีการลงทุนหรือใช้จ่ายในกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศ

                                        หรืออุตสาหกรรมโดยรวม อาทิ กิจกรรมเพื่อพัฒนาความสามารถในการ
                                        แข่งขัน (เช่น การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม  และการฝึก
                                        อบรมเทคโนโลยีชั้นสูง)  กิจกรรมเพื่อการกระจายความเจริญสู่ภูมิภาค
                                                                                      3
                                        และกิจกรรมเพื่อการพัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรม  (สำนักงานคณะ
                                        กรรมการส่งเสริมการลงทุน, 2558)

                          = การสนับสนุนด้านการเข้าถึงแหล่งเงินทุนเพื่อพัฒนาธุรกิจ SMEs


                            รัฐบาลมีการสนับสนุนให้มีการพัฒนาและส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและ
               ขนาดย่อม (Small & Medium-sized enterprises: SMEs) ของประเทศ โดยมีหน่วยงานที่ดูแลคือ
               สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ สสว. ซึ่งมีกลยุทธ์ประการหนึ่งคือ

               “การเสริมสร้างระบบและเตรียมความพร้อมเพื่อให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมสามารถเข้าถึง
               เงินทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทางการเงิน” โดยการส่งเสริมและสนับสนุนให้วิสาหกิจ
               ขนาดกลางและขนาดย่อมเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้มากขึ้น และมีการเตรียมความพร้อมให้แก่วิสาหกิจ

               ขนาดกลางและขนาดย่อมด้านการบริหารจัดการธุรกิจ รวมทั้งเพิ่มช่องทางหรือโอกาสการเข้าถึงแหล่ง
               เงินทุน ทั้งตลาดเงิน ตลาดทุน และแหล่งเงินทุนอื่นๆ (สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและ
               ขนาดย่อม, 2557: น.10)


                            ทั้งนี้ ตามแผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ฉบับที่ 3 (พ.ศ.
               2555 – 2559) และแผนปฏิบัติการส่งเสริม SMEs ปี 2556 ได้มีการดำเนินการสํารวจสถาน
               ประกอบการในกลุ่มกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่างๆ เช่น  ภาคการผลิต  การค้า (ค้าปลีก  ค้าส่ง และอื่นๆ)
               และการบริการ ใน 55 จังหวัด (ภาคเหนือ 12 จังหวัด, ภาคกลาง 16 จังหวัด, ภาคตะวันออก

               3 จังหวัด, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 15 จังหวัด, และภาคใต้ 9 จังหวัด) เพื่อนําข้อมูลมาใช้เป็น
               ข้อมูลเบื้องต้นในการวิเคราะห์ของการจัดทําแผนแม่บทในการส่งเสริม SMEs ในระยะยาว





                  3   สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับสิทธิและประโยชน์ตามประเภทกิจการและตามคุณค่าของโครงการ
               ได้ที่  http://www.boi.go.th/index.php?page=criteria_for_granting_tax
   334   335   336   337   338   339   340   341   342   343   344