Page 338 - kpi16531
P. 338
นวัตกรรมการพัฒนารายได้ 321
ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
แผนภาพที่ 18: แสดงกิจกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบล
จากผลสำรวจแสดงให้เห็นว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของไทยหลายแห่งมีการ
ดำเนินการในรูปแบบต่างๆ เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่ ทั้งนี้รูปแบบ วิธีการ หรือกลยุทธ์ที่ใช้ในการ
พัฒนามีความแตกต่างกันไป ซึ่งอาจสอดคล้องกับแนวคิดและหลักการในการพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่
ที่ได้อธิบายไปแล้วในข้างต้นไม่มากก็น้อย ในลำดับถัดไป ผู้วิจัยจะนำเสนอกรณีตัวอย่างโดยย่อของ
การพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไทย โดยแต่ละกรณีตัวอย่างจะสอดคล้อง
กับกลยุทธ์หลักที่ใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจ อันได้แก่ การให้แรงจูงใจทางการเงิน (Fiscal incentives)
การพัฒนาบริการสาธารณะพื้นฐาน (Public improvement) และการสนับสนุนความร่วมมือระหว่าง
ภาครัฐและเอกชน (Public-private partnerships)
.3.3 กรณีตัวอย่างของการพัฒนาเศรษฐกิจขององค์กรปกครองส่วน
ท้องถิ่นไทย
4.3.3.1. การให้แรงจูงใจทางการเงิน (Financial incentives)
= การลดหย่อนหรือยกเว้นการจัดเก็บภาษีบางประเภทชั่วคราวและการให้
สิทธิประโยชน์อื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวกับภาษีอากร
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (Thailand Board of Investment: BOI,
2015) ได้เสนอแรงจูงใจทางการเงินโดยการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรเพื่อส่งเสริมและดึงดูด
การลงทุนหรือการทำธุรกิจในประเทศไทย ตัวอย่างของสิทธิประโยชน์ดังกล่าว เช่น การลดหย่อน
(หรือยกเว้น) อากรขาเข้าสำหรับเครื่องจักร วัตถุดิบ หรือวัสดุที่จำเป็น การยกเว้นภาษีเงินได้
นิติบุคคลและเงินปันผล การลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลร้อยละ 50 รวมทั้งการให้หักค่าใช้จ่ายด้าน
การขนส่ง ค่าติดตั้งหรือก่อสร้าง ค่าไฟฟ้า และค่าน้ำประปาตามที่กฎหมายกำหนดเพื่อแบ่งเบาภาระ
ค่าใช้จ่ายของผู้ลงทุน ทั้งนี้หลักเกณฑ์ที่ใช้ในการพิจารณาสิทธิประโยชน์ดังกล่าว (อัพเดทล่าสุด
ในเดือนมกราคม 2557) แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่