Page 333 - kpi16531
P. 333
31 นวัตกรรมการพัฒนารายได้
ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
อำนาจ หรือ รัฐรวมศูนย์) รวมทั้งระเบียบและกฎหมายมีความสำคัญอย่างมากต่อความสามารถและ
ขอบเขตการใช้อำนาจในการพัฒนาเศรษฐกิจในท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละแห่ง
กล่าวคือ สถานภาพมีนัยสำคัญบอกถึงอำนาจและหน้าที่ตามกฎหมายที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ได้รับ ส่วนกฎหมายหรือระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจในท้องถิ่นเป็นกรอบหรือขอบเขต
ที่ระบุว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถริเริ่มและ/หรือดำเนินการในเรื่องใดได้บ้าง มีขั้นตอนหรือ
กระบวนการอย่างไร และมีหน่วยงานใดเกี่ยวข้องบ้างในการพัฒนาเศรษฐกิจของท้องถิ่น
ตัวอย่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสถานภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของไทยและ
ระเบียบกฎหมายที่สนับสนุน (หรือเป็นอุปสรรคต่อ) การพัฒนาเศรษฐกิจในท้องถิ่นของไทย
= รัฐธรรมนูญ ปี 2540 มาตรา 87 (หรือรัฐธรรมนูญ ปี 2550 มาตรา 84(1)) รัฐต้อง
ดำเนินการตามแนวนโยบายด้านเศรษฐกิจโดย “สนับสนุนระบบเศรษฐกิจแบบเสรีและเป็น
ธรรมโดยอาศัยกลไกตลาด และสนับสนุนให้มีการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน โดยต้อง
ยกเลิกและละเว้นการตรากฎหมายและกฎเกณฑ์ที่ควบคุมธุรกิจซึ่งมีบทบัญญัติที่ไม่
สอดคล้องกับความจำเป็นทางเศรษฐกิจ และต้องไม่ประกอบกิจการที่มีลักษณะเป็นการ
แข่งขันกับเอกชน เว้นแต่มีความจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการรักษาความมั่นคงของรัฐ รักษา
ผลประโยชน์ส่วนรวม หรือการจัดให้มีสาธารณูปโภค”
= พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
พ.ศ. 2542 มาตรา 16 (1) (4) (6) (7) (16) (31) ซึ่งระบุไว้ว่า “ให้เทศบาล
เมืองพัทยา และองค์การบริหารส่วนตำบลมีอำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบการบริการ
สาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเองดังนี้ (1) การจัดทำแผนพัฒนา
ท้องถิ่นตนเอง (4) การสาธารณูปโภคและการก่อสร้างอื่นๆ (6) การส่งเสริมการฝึกและ
ประกอบอาชีพ (7) การพาณิชย์และการส่งเสริมการลงทุน (16) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของ
ราษฎรในการพัฒนาท้องถิ่น (31) กิจการอื่นใดที่เป็นผลประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่น
ตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด”และมาตรา 17 (1) (2) (8) (15) และ (29)
ซึ่งระบุไว้ว่า “ภายใต้บังคับมาตรา 16 ให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดมีอำนาจและหน้าที่ใน
การจัดระบบการบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเองดังนี้
(1) การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นตนเอง และประสานการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดตาม
ระเบียบที่คณะรัฐมนตรีกำหนด (2) การสนับสนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นในการ
พัฒนาท้องถิ่น (8) การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎรในการพัฒนาท้องถิ่น (15) การ
พาณิชย์ การส่งเสริมการลงทุน และการทำกิจการไม่ว่าจะดำเนินการเองหรือร่วมกับบุคคล
อื่นหรือจากสหการ (29) กิจการอื่นใดที่เป็นผลประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นตามที่
คณะกรรมการประกาศกำหนด”
= พระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 (แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 4) พ.ศ.
2552) มาตรา 45 (2) (3) ซึ่งระบุไว้ว่า “องค์การบริหารส่วนจังหวัดมีอำนาจหน้าที่
ดำเนินกิจการภายในเขตองค์การบริหารส่วนจังหวัด ดังต่อไปนี้ (2) จัดทำแผนพัฒนา
องค์การบริหารส่วนจังหวัด และประสานการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดตามระเบียบที่คณะ
รัฐมนตรีกำหนด (3) สนับสนุนสภาตำบลและราชการส่วนท้องถิ่นอื่นในการพัฒนาท้องถิ่น”