Page 329 - kpi16531
P. 329

312      นวัตกรรมการพัฒนารายได้
                ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น


                         = Incheon, South Korea: ในปี 2003 ประเทศเกาหลีใต้ได้กำหนดเขตเศรษฐกิจเสรีขึ้น
                             เพื่อส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่นของเมืองอินชอน เขตเศรษฐกิจดังกล่าวเรียกว่า

                             Incheon Free Economic Zone (IFEZ) ซึ่งครอบคลุมเขตพื้นที่เป้าหมายในการ
                             พัฒนา ได้แก่ สนามบินอินชอน ท่าเรืออินชอน เขตซองดู เขตยองจอง และเขตชองนา
                             เป้าหมายหลักของการพัฒนาในครั้งนี้ คือ การส่งเสริมให้เมืองอินชอนเป็นเขต
                             เศรษฐกิจเสรีอันดับ 1 ใน 3 ของโลก โดยมีกลยุทธ์สำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจ

                             3 ประการ คือ (1) การดึงดูดการลงทุนในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านโครงสร้าง
                             พื้นฐาน ด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ด้านการท่องเที่ยว ฯลฯ รวมทั้งการสร้างงาน

                             ในพื้นที่, (2) การออกแบบและพัฒนาชุมชนเมืองให้เป็นชุมชนที่เป็นมิตรกับ
                             สิ่งแวดล้อม (ชุมชนสีเขียว) และ (3) การสนับสนุนระบบการลงทุนและการพัฒนา
                             ศักยภาพเพื่อแข่งขันโดยการปรับโครงสร้างองค์การ  และการลดข้อจำกัด, อุปสรรค
                             และภาระด้านกฎระเบียบ เป็นต้น (Korea FEZ Planning Office, n.d.; World Bank,

                             2011)

                         = Qatar:  ประเทศกาตาร์ใช้โอกาสที่ตนได้รับเลือกให้เป็นเจ้าภาพในการจัดแข่งขัน
                             ฟุตบอลโลกในปี ค.ศ. 2022 ในการวางแผนพัฒนาประเทศ กล่าวคือ กาตาร์เล็งเห็น

                             ถึงความสำคัญและผลประโยชน์ต่างๆ จากการเป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลกในครั้งนี้
                             และได้บันทึกวาระการเป็นเจ้าภาพดังกล่าวให้เป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์พัฒนาชาติปี

                             ค.ศ. 2011-2016  (The Qatar National Development Strategy 2011-2016)
                             ซึ่งแผนพัฒนาเน้นการพัฒนาทางเศรษฐกิจ กายภาพ สังคม และสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้
                             รัฐบาลกาตาร์ได้ออกแบบและจัดเตรียมโครงสร้างพื้นฐานและบริการสาธารณะ เช่น
                             สนามบินโดฮา สนามกีฬา ฯลฯ เพื่อรองรับการแข่งขันที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ภาครัฐ

                             ใช้เงินมากกว่า 65 ล้านเหรียญดอลล่าร์สหรัฐเพื่อลงทุนเรื่องโครงสร้างพื้นฐาน
                             ซึ่งถือเป็นหนึ่งในกลยุทธ์หลักที่ใช้พัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่ของท้องถิ่น

                             (PricewaterhouseCoopers: PwC, n.d.)

                         = Yokohama, Japan:  หลังเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในปี ค.ศ. 1923 และ
                             สงครามโลกครั้งที่ 2  เมืองโยโกฮามาได้เร่งฟื้นฟูและพัฒนาเศรษฐกิจของเมือง มีการ

                             วางแผนพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐาน 6 โครงการในปี ค.ศ. 1983 ประกอบด้วย
                             โครงการพัฒนาระบบทางด่วนภายในเมือง  โครงการพัฒนาระบบรถไฟฟ้าใต้ดิน
                             โครงการสะพานข้ามอ่าวโยโกฮามา  โครงการพัฒนาเมืองใหม่ย่านนอร์ท ฮาร์เบอร์
                             (North Harbor)  โครงการสร้างที่ดินจากการถมทะเลเพื่อสร้างเขตคานาซาวา

                             (Kanazawa District) และโครงการมินาโตะ มิไร 21 (Minato Mirai 21) หรือท่าเรือ
                             ใหม่ในอนาคต ซึ่งโครงการท่าเรือมินาโตะ มิไร 21 เป็นโครงการระยะยาวและยังคงมี
                             การดำเนินการก่อสร้างอยู่ในปัจจุบัน (พีรดร แก้วลาย & ทิพย์สุดา จันทร์แจ่มหล้า,

                             2556, นน. 123-124) โครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเหล่านี้นอกจากจะช่วย
                             เชื่อมโยงระบบการขนส่งมวลชนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นแล้ว ยังช่วยเพิ่ม
                             ศักยภาพและส่งเสริมการขยายตัวทางเศรษฐกิจของเมืองโยโกฮามาอีกด้วย
   324   325   326   327   328   329   330   331   332   333   334