Page 327 - kpi16531
P. 327

310      นวัตกรรมการพัฒนารายได้
                ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น


                    4.2.3.2 การพัฒนาบริการสาธารณะพื้นฐาน (Public improvement)

                         =  Indiana, U.S.A.:  มลรัฐอินเดียนานำเงินจาก TIF มาใช้ลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน

                             เช่น  ถนนทางด่วน  ระบบประปา  ไฟฟ้า และระบบบำบัดน้ำเสีย เพื่อดึงดูดให้บริษัท
                             ซูบารุ/อิซูสุ (Subaru/Isuzu) มาลงทุนสร้างโรงงานในเขต Tippecanoe รวมทั้งบริษัท
                             GM ให้ลงทุนสร้างโรงงานผลิตรถบรรทุกและรถประจำทางในเขต Allen ของมลรัฐ

                             (Klacik, 2001)

                         =  Busan City, South Korea:  รัฐบาลเมืองปูซานได้ดำเนินการพัฒนาและขยายพื้นที่

                             ท่าเรือ North Port เพื่อส่งเสริมศักยภาพในการพัฒนาเศรษฐกิจของเมืองปูซาน โดย
                             โครงการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์หลักอย่างน้อย 3 ประการ คือ (1) เพื่อพัฒนาให้
                             พื้นที่ท่าเรือเป็นศูนย์กลางการขนส่งในพื้นที่แถบยูเรเชียและแปซิฟิก (Eurasian
                             continent and the Pacific), (2) เพื่อพัฒนา North Port ให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยว

                             นานาชาติทางทะเล (An international marine tourism base) และเป็นสถานที่พัก
                             ผ่อนหย่อนใจของผู้อาศัยในเมืองปูซาน, และ (3)  เพื่อส่งเสริมการพัฒนาและฟื้นฟู
                             เศรษฐกิจบริเวณใจกลางเมืองปูซานผ่านการพัฒนาท่าเรือและพื้นที่รอบๆ ท่าเรือ

                             (Busan Metropolitan City, n.d.)

                         =  Cheong Gye Cheon Stream, Seoul, South Korea: คลองชองเกซอนเป็นลำธารที่มี
                             ความยาว 5.84 กิโลเมตร และไหลผ่านใจกลางกรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ คลอง

                             ชองเกซอนถือเป็นตัวอย่างที่ยอดเยี่ยมของโครงการปฏิรูปเมืองเพื่อการพัฒนา
                             เศรษฐกิจ โดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของประชาชนในท้องถิ่นเป็นหลัก
                             นอกเหนือไปจากความเจริญทางวัตถุที่มักจะเป็นวัตถุประสงค์สำคัญของโครงการ

                             พัฒนาเศรษฐกิจในท้องถิ่นโดยทั่วไป คลองชองเกซอนเป็นคลองที่ได้รับผลกระทบ
                             โดยตรงจากการขยายตัวของเมืองและกระแสการพัฒนาเศรษฐกิจ คลองถูกทอดทิ้งให้
                             อยู่ในสภาพเสื่อมโทรม น้ำสกปรกเน่าเหม็นและเต็มไปด้วยขยะ ในปี ค.ศ.1968

                             คลองดังกล่าวถูกปิดทับด้วยแผ่นคอนกรีตและมีการสร้างทางด่วนยกระดับที่มีระยะ
                             ทาง 5.6 กิโลเมตร คร่อมคลองชองเกซอน ซึ่งทำให้บริเวณดังกล่าวกลายเป็นชุมชน
                             แออัดที่มีการจราจรหนาแน่นและเกิดมลภาวะทางอากาศและเสียง (East Asia

                             Watch, n.d.; Society for Ecological Restoration, 2007; V-Reform, 2013)
   322   323   324   325   326   327   328   329   330   331   332