Page 323 - kpi16531
P. 323
30 นวัตกรรมการพัฒนารายได้
ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
= Tax incremental financing (TIF) เป็นเครื่องมือที่สำคัญและได้รับความนิยม
มากในการนำไปใช้พัฒนาเศรษฐกิจในเมืองใหญ่ๆ ในประเทศสหรัฐอเมริกา
(อ้างใน Morgan, England, & Pelissero, 2007, p. 140) TIF เกิดขึ้น
ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1945 ในมลรัฐแคลิฟอร์เนีย กลยุทธ์นี้ถูกนำมาใช้เพื่อ
ปรับปรุงพัฒนาแหล่งเสื่อมโทรมในเมือง ขยายโอกาสด้านที่อยู่อาศัย และ
สร้างงานในชุมชนต่างๆ ในรัฐแคลิฟอร์เนีย (Johnson, 1999, p. 47) จนถึง
ปี ค.ศ. 2007 พบว่า มีมลรัฐในสหรัฐอเมริกา 49 แห่งที่ผ่านกฎหมายเพื่อ
อนุญาตให้ใช้ TIF เป็นเครื่องมือในการพัฒนาเศรษฐกิจในท้องถิ่น ทั้งนี้ไม่รวม
มลรัฐแอริโซน่าที่อนุญาตให้ใช้ TIF เป็นเครื่องมือโดยไม่ต้องออกเป็นกฎหมาย
(Naccarato, 2007)
หลักการที่สำคัญของ TIF คือ การใช้รายได้ส่วนที่เพิ่มขึ้น (the increment)
จากการพัฒนาหรือขยายการลงทุนในท้องถิ่นซึ่งถูกกำหนดเป็นพื้นที่เป้าหมาย (TIF district) เช่น
รายได้จากการเก็บภาษีได้เพิ่มขึ้นซึ่งอาจจะมาจากการขยายตัวของฐานภาษี รายได้ที่เพิ่มขึ้นของ
คนในท้องถิ่น หรือรายได้จากภาษีโรงเรือนที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากราคาที่ดินที่สูงขึ้น ฯลฯ มาพัฒนาพื้นที่
หรือการให้บริการสาธารณะในพื้นที่เป้าหมาย (TIF district) นั้นๆ กล่าวคือ พื้นที่หรือท้องถิ่นอื่นๆ
นอกเหนือจากพื้นที่เป้าหมายจะไม่ได้รับส่วนแบ่งในรายได้ส่วนที่เพิ่มขึ้นของ TIF district
4.2.2.2 การพัฒนาบริการสาธารณะพื้นฐาน (Public improvement)
เช่น ระบบสาธารณูปโภค (น้ำประปา, ไฟฟ้า, และระบบระบายน้ำเสีย) ถนน
ระบบสารสนเทศและการสื่อสาร อาคาร รวมถึงโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นอื่นๆซึ่งจะก่อให้เกิด
ประโยชน์แก่ประชาชนส่วนรวม ทั้งนี้การพัฒนาดังกล่าวมีเป้าหมายเพื่อดึงดูดการลงทุนของ
ภาคเอกชน กล่าวคือ การที่ภาครัฐลงทุนพัฒนาโครงสร้างและบริการสาธารณะพื้นฐานถือเป็นการ
ช่วยลดรายจ่ายให้ภาคเอกชนที่จะเข้ามาลงทุน ตลอดจนเป็นการส่งเสริมการจ้างงานในท้องถิ่น
ในบางกรณีการพัฒนาบริการสาธารณะพื้นฐานอาจรวมถึงการปรับเปลี่ยนหรือออกกฎระเบียบ
เกี่ยวกับการกำหนดเขตเฉพาะ (Zoning) และการจัดผังเมืองของท้องถิ่นดังกล่าว เครื่องมือสำคัญ
ที่สามารถนำมาใช้ในการพัฒนาบริการสาธารณะพื้นฐาน ได้แก่ TIF การกู้เงินจากสถาบันการเงิน
หรือการออกพันธบัตรเพื่อนำเงินมาลงทุนพัฒนาปรับปรุงบริการสาธารณะพื้นฐาน
4.2.2.3 การสนับสนุนความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน (Public-private
partnerships: PPPs)
จากคำนิยามของ World Bank (2011) ความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน
หรือ PPPs หมายถึง ข้อตกลงหรือแผนการดำเนินงานร่วมกันของภาครัฐและเอกชนที่จะให้บริการ
สาธารณะอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น โครงสร้างพื้นฐาน หรือระบบสาธารณูปโภค โดยแผนหรือข้อตกลง
ดังกล่าวมักมีระยะเวลายาว (15 ปีขึ้นไป) PPPs มีหลายรูปแบบและเป็นกลยุทธ์ที่มีความสำคัญ
มากขึ้นในปัจจุบัน PPPs สามารถช่วยพัฒนาเศรษฐกิจในท้องถิ่นได้โดยการส่งเสริมให้เกิดบริการ
สาธารณะที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ช่วยถ่ายเทความเสี่ยงต่างๆจากภาครัฐไปยังภาคเอกชน
ไม่ว่าจะเป็นความเสี่ยงด้านการเงิน ด้านเทคนิค ด้านการดำเนินงาน ด้านสิ่งแวดล้อม ฯลฯ เป็น