Page 320 - kpi16531
P. 320
.1 บทนำ
การพัฒนาเศรษฐกิจในท้องถิ่น (Local economic development: LED) เป็นหนึ่ง
ในแนวทางการเพิ่มรายได้ที่ยั่งยืนให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การพัฒนาเศรษฐกิจ
ในท้องถิ่นเป็นหัวข้อที่ถูกพูดถึงเป็นอย่างมากตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 20 องค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่นหลายแห่งในต่างประเทศมีความสนใจที่จะพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่ของตน
และมีการนำเสนอแผนงานและโครงการต่างๆ เพื่อดึงดูดให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วม
ในการลงทุนและการพัฒนาเศรษฐกิจ (Morgan, England, & Pelissero, 2007, p. 135)
ความสำเร็จของการพัฒนาเศรษฐกิจในท้องถิ่นต้องอาศัยปัจจัยสำคัญหลายประการ อาทิ
ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ของผู้นำท้องถิ่น ทรัพยากรบุคคลที่มีความรู้ความสามารถ
เงินทุน กฎหมายที่สนับสนุนหรือเอื้ออำนวยต่อการพัฒนา เป็นต้น สำหรับในประเทศไทย
นั้น แนวคิดเรื่องการพัฒนาเศรษฐกิจในท้องถิ่นอาจไม่เป็นที่รู้จักแพร่หลายมากนักถึงแม้
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะมีการดำเนินกิจกรรมเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจในหลากหลาย
รูปแบบ แต่กิจกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจดังกล่าวอาจไม่ก่อให้การขยายตัวทางเศรษฐกิจ
ที่ยั่งยืน
งานวิจัยชิ้นนี้มุ่งศึกษาหลักการและแนวทางในการพัฒนาเศรษฐกิจในท้องถิ่น
เพื่อให้เป็นหนึ่งในช่องทางในการพัฒนารายได้ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
การศึกษาวิจัยประกอบด้วย 4 ส่วนสำคัญ ได้แก่ (1) ความหมายและแนวคิดของการ
พัฒนาเศรษฐกิจในท้องถิ่น ตลอดจนประสบการณ์ในการพัฒนาเศรษฐกิจขององค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่นในต่างประเทศ (2) สถานการณ์การพัฒนาเศรษฐกิจในท้องถิ่น
ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไทย (3) บทวิเคราะห์สภาพปัญหาและอุปสรรคของการ
พัฒนาเศรษฐกิจในท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไทย และ (4) ข้อเสนอแนะ
ในการพัฒนาเศรษฐกิจในท้องถิ่นในประเทศไทย