Page 316 - kpi16531
P. 316
นวัตกรรมการพัฒนารายได้ 2
ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
4) การริเริ่มกิจการเพื่อสังคมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้ทำได้ผ่าน
กฎหมายที่มีอยู่ แต่อาจตรากฎหมาย ระเบียบ หรือแนวทางการจัดวางความสัมพันธ์
ระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและกิจการเพื่อสังคม เพื่อให้กิจการเพื่อสังคม
อยู่ภายใต้การกำกับดูแลทิศทางขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและมีธรรมาภิบาล
ในกรณีของกิจการสังคมที่ริเริ่มจากรัฐบาลท้องถิ่นโดยตรง ที่ท้องถิ่นมีบทบาทจัดตั้ง
ดำเนินการ ให้การสนับสนุน หรือควบคุมทิศทางการดำเนินกิจการด้วยตนเองนั้น องค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่นสามารถดำเนินการจัดตั้งได้ผ่านกฎหมายที่มีอยู่ ได้แก่ การตั้งสหกรณ์ (Co-operative)
ตามพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ.2542 และมูลนิธิ (Charity) ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
และกฎกระทรวงว่าด้วยการจดทะเบียนมูลนิธิ การดำเนินกิจการ และการทะเบียนมูลนิธิ พ.ศ. 2545
ส่วนกิจการเพื่อสังคมของเอกชนที่รัฐบาลท้องถิ่นให้การสนับสนุน ที่ท้องถิ่นอาจเชิญชวน ให้การ
สนับสนุน หรือว่าจ้างให้กิจการเพื่อสังคมของเอกชนมาจัดบริการสาธารณะที่สอดคล้องกับทิศทาง
การบริหารงานของรัฐบาลท้องถิ่น ก็ให้เป็นไปตามความต้องการของเอกชนที่สามารถจัดตั้งได้ตาม
กรอบของกฎหมายที่มีอยู่
อย่างไรก็ตามเพื่อวางแนวทางในการกำกับดูแลกิจการเพื่อสังคมทั้งกิจการสังคมที่ริเริ่ม
จากรัฐบาลท้องถิ่นโดยตรง และกิจการเพื่อสังคมของเอกชนที่รัฐบาลท้องถิ่นให้การสนับสนุน
ให้ดำเนินงานสอดคล้องกับทิศทางการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น วางแนวทางให้
กิจการเพื่อสังคมต้องดำเนินงานให้อยู่ภายใต้ความรับผิดชอบต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และ
มีการดำเนินงานอย่างเป็นธรรมาภิบาล ก็อาจมีการตรากฎหมาย ระเบียบ หรือแนวทางการจัดวาง
ความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและกิจการเพื่อสังคม เพื่อให้กิจการเพื่อสังคม
อยู่ภายใต้การกำกับดูแลทิศทางขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและมีธรรมาภิบาลเพิ่มเติม ดังเช่น
กรณีของสหราชอาณาจักรที่ตรากฎหมาย Public Services (Social Value) Act 2012 เพื่อสร้าง
ความชัดเจนต่อการมอบหมายงานและการว่าจ้างงานระหว่างหน่วยงานรัฐต่อกิจการเพื่อสังคมให้เป็น
ตามหลักธรรมาภิบาลโดยให้ปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้าง
โดยควรตรากฎหมายเกี่ยวกับกิจการเพื่อสังคมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใน
สองด้านคือ
< การออกกฎหมายหรือระเบียบเพื่อกำกับดูแลเกี่ยวกับการมอบหมาย
การสนับสนุน หรือการว่าจ้างกิจการเพื่อสังคมในการจัดบริการสาธารณะ
ผ่านบริษัทเพื่อสังคม (Social Firms) สหกรณ์ (Co-operative) มูลนิธิ (Charity)
หรือกิจการเพื่อสังคมรูปแบบอื่นๆ เป็นต้น
< การให้มีแผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการเกี่ยวกับการส่งเสริมและสนับสนุน
ต่อกิจการเพื่อสังคมที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมอบหมายให้จัดบริการ
สาธารณะ เพื่อให้ทิศทางและผลลัพธ์การดำเนินงานของกิจการเพื่อสังคมมีความ
ชัดเจน โดยให้มีการประเมินผลและจัดทำตัวชี้วัดเพื่อประเมินกิจการพาณิชย์ตาม
แผนยุทธศาสตร์ โดยแผนดังกล่าวควรได้รับการรับรองจากสภาท้องถิ่น