Page 313 - kpi16531
P. 313
2 นวัตกรรมการพัฒนารายได้
ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
1) การออกกฎหมายที่นิยามอำนาจหน้าที่ในการจัดบริการสาธารณะของ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้เป็นไปตามหลักความสามารถทั่วไปของท้องถิ่น (Local
Capability หรือ General Competence)
ควรกำหนดให้การดำเนินบริการหรือกิจกรรมสาธารณะทุกประเภทเป็นหน้าที่ของหน่วยการ
ปกครองท้องถิ่นเสมอ และกำหนดประเภทหรือกิจกรรมใดที่เกี่ยวกับบริการสาธารณะที่ท้องถิ่น
ไม่สามารถดำเนินการได้ เช่นเดียวกับการวางหลักอำนาจทั่วไปของความสามารถ (The General
Power of Competence) ในการบริหารงานท้องถิ่นตามกฎหมาย Localism Act 2011 ของสหราช-
อาณาจักร โดยการออกกฎหมายนี้สามารถทำได้โดย
< การกำหนดหลักความสามารถทั่วไปของท้องถิ่นในรัฐธรรมนูญ หรือให้แก้ไขในหมวด
ว่าด้วยการกำหนดอำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบการบริการสาธารณะของกฎหมาย
จัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกฉบับ คือ 1). พระราชบัญญัติองค์การบริหาร
ส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 มาตรา 45-57 2). พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496
มาตรา 50-64 3). พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.
2537 มาตรา 66-73 4). พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
พ.ศ. 2528 มาตรา 89-108 และ 5). พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมือง
พัทยา พ.ศ. 2542 มาตรา 62-79
< การกำหนดหลักความสามารถทั่วไปของท้องถิ่นโดยแก้ไขหมวด 2 การกำหนด
อำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบการบริการสาธารณะ ของพระราชบัญญัติกำหนด
แผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542
< ในกรณีที่มีการออกกฎหมายเกี่ยวกับกิจการพาณิชย์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ก็ควรยืนยันหลักความสามารถทั่วไปของท้องถิ่นที่สามารถดำเนินประเภทหรือ
กิจกรรมการบริการสาธารณะที่สามารถจัดทำในรูปแบบกิจการพาณิชย์ได้
2) การออกกฎหมายและแนวทางเพื่อสร้างความชัดเจนเกี่ยวกับ “การแข่งขัน
แข่งกับเอกชน”
เนื่องจากกิจการพาณิชย์และกิจการเพื่อสังคมที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการ
หรือให้การสนับสนุนต้องมีศักยภาพในการดำเนินงานแข่งขันกับบุคคลอื่นได้ ทั้งการแข่งขันกับภาครัฐ
ด้วยกันเอง ภาคเอกชน หรือบุคคลอื่นเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ ความคุ้มค่า และความครอบคลุมต่อ
ผู้รับบริการ โดยที่กิจการนั้นต้องไม่ได้รับสิทธิพิเศษที่สร้างความได้เปรียบเหนือภาคเอกชนหรือบุคคล
อื่น เว้นแต่ในกรณีที่เอกชนหรือบุคคลอื่นมีศักยภาพในการจัดบริการสาธารณะมากกว่าท้องถิ่น ท้อง
ถิ่นก็ไม่จำเป็นต้องจัดบริการสาธารณะด้วยตนเอง หรืออาจถ่ายโอนการจัดบริการสาธารณะให้เอกชน
หรือบุคคลอื่นดำเนินการแทน
อย่างไรก็ตามเนื่องจากที่ผ่านมาการดำเนินบริการสาธารณะของรัฐ รัฐวิสาหกิจ และ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจำนวนมากไม่สามารถดำเนินการได้เพราะเป็นการประกอบกิจการแข่งขัน