Page 312 - kpi16531
P. 312
นวัตกรรมการพัฒนารายได้ 2
ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
7) กิจการพาณิชย์และกิจการเพื่อสังคมสามารถมีรูปแบบการระดมทุนได้
อิสระที่นอกเหนือจากการได้รับเงินอุดหนุนจากภาครัฐ แต่ต้องสอดคล้องกับรูปแบบ
ของกิจการพาณิชย์และกิจการเพื่อสังคม
ควรให้กิจการพาณิชย์และกิจการเพื่อสังคมสามารถระดมทุนเพื่อนำทุนที่ได้มาดำเนินงาน
ได้โดยไม่ต้องพึ่งพาเงินอุดหนุนจากภาครัฐ แต่ต้องไม่ทำให้ระดมทุนจากบุคคลภายนอกส่งผลต่อฐานะ
การกำหนดทิศทางการบริการกิจการพาณิชย์และกิจการเพื่อสังคมโดยองค์กรปกครองท้องถิ่น เช่น
ไม่ควรระดมทุนโดยการออกหุ้นในบริษัทจำกัดเพื่อขายให้กับบุคคลภายนอก จนสัดส่วนการถือครอง
หุ้นของท้องถิ่นลดลงจนไม่สามารถควบคุมกิจการได้ หรือ การรับบริจาคเงินช่วยเหลือแก่มูลนิธิ
ที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการแต่ต้องตอบแทนผลประโยชน์แก่ผู้บริจาคจนส่งผลกระทบ
ต่อองค์กรและการจัดบริการสาธารณะ เป็นต้น
นอกจากนี้ การระดมทุนต้องสอดคล้องกับรูปแบบของกิจการพาณิชย์และกิจการเพื่อ
สังคมเช่น การระดมทุนผ่านการขายหุ้นอาจเหมาะสมสำหรับกิจการพาณิชย์ในรูปของบริษัทจำกัด
หรือสหกรณ์ แต่อาจไม่เหมาะสมกับมูลนิธิที่อาจต้องระดมทุนผ่านวิธีการอื่น เป็นต้น
8) กิจการพาณิชย์และกิจการเพื่อสังคมต้องตอบสนองความต้องการเฉพาะ
กลุ่มเป้าหมายและสร้างการพัฒนาขึ้นในท้องถิ่น
กิจการพาณิชย์และกิจการเพื่อสังคมต้องวางแผนการดำเนินงานเพื่อจัดบริการสาธารณะ
โดยคำนึงถึงกลุ่มเป้าหมายของการจัดบริการสาธารณะให้ชัดเจนว่าจะจัดบริการสำหรับบุคคลหรือ
กลุ่มบุคคลเฉพาะกลุ่ม (เช่น กลุ่มเพศ รายได้ อายุ ถิ่นที่อยู่ ความพิการ ความต้องการอื่นๆ ฯลฯ)
หรือการจัดบริการให้ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมายอย่างไร โดยต้องคำนึงว่าบริการ รวมถึงความ
ต้องการในการพัฒนาของท้องถิ่นทั้งการพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่น (Local Economic Development –
LED) และการพัฒนาชุมชน (Community Development) ทั้งในมิติของกำไรสูงสุดและมิติการพัฒนา
ที่ไม่เน้นการแสวงหากำไร
9) เปิดโอกาสให้ภาคส่วนต่างๆ สามารถเข้ามามีส่วนร่วมเพื่อสร้างธรรมาภิบาล
และบรรษัทภิบาลในกิจการพาณิชย์และกิจการเพื่อสังคม
ต้องเปิดโอกาสให้ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมในกิจการพาณิชย์และกิจการเพื่อ
สังคมทั้งด้านการเป็นลูกค้าผู้รับบริการ (Customer) หุ้นส่วน (Partnership) การร่วมดำเนินงาน
(Collaboration) ผู้ตรวจสอบ (Inspector & Watch-Dog) เป็นต้น เพื่อสร้างธรรมาภิบาลและบรรษัท
ภิบาลในทุกมิติโดยคำนึงอยู่เสมอว่าในกิจการพาณิชย์และกิจการเพื่อสังคมต้องเปิดโอกาสและ
สามารถตรวจสอบได้
3. .2 ข้อเสนอแนะเชิงกฎหมาย
ผู้วิจัยเห็นว่าประเทศไทยควรตราและแก้ไขกฎหมายให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถ
ดำเนินกิจการพาณิชย์และกิจการเพื่อสังคมให้สอดคล้องกับข้อเสนอแนะเชิงหลักการ ดังนี้