Page 309 - kpi16531
P. 309
2 2 นวัตกรรมการพัฒนารายได้
ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
3. .1 ข้อเสนอแนะเชิงหลักการ
เป็นข้อเสนอที่ผู้วิจัยมุ่งที่จะ “สร้างกระบวนคิดใหม่” ต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและผู้มี
อำนาจหน้าที่ในการกำกับดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเกี่ยวกับการดำเนินกิจการพาณิชย์และ
กิจการเพื่อสังคมที่ควรยึดถือหลักการสำคัญในสองด้านคือ
ประการที่หนึ่ง: กิจการพาณิชย์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องเป็นกิจการที่ดำเนิน
การจัดบริการสาธารณะ ที่สามารถหารายได้และแสวงหาผลกำไรให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
เพื่อลดภาระด้านงบประมาณจากภาครัฐและต้องคำนึงถึงประโยชน์สาธารณะที่ให้กับชุมชนท้องถิ่น
(Community Benefit) โดยที่กิจการพาณิชย์ต้องมีศักยภาพในการดำเนินงานทางธุรกิจ มีความ
ชำนาญเฉพาะทางในการจัดบริการสาธารณะได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และความคุ้มค่า
และสามารถดำเนินงานแข่งขันกับเอกชนได้โดยไม่ได้รับสิทธิพิเศษที่สร้างความได้เปรียบเหนือภาค
เอกชน รวมถึงต้องดำเนินงานภายใต้การกำกับดูแลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามหลักการ
ธรรมาภิบาล
ประการที่สอง: กิจการเพื่อสังคมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องเป็นกิจการที่ดำเนิน
งานจัดบริการสาธารณะเพื่อตอบโจทย์เป้าหมายทางสังคมและสิ่งแวดล้อมของท้องถิ่น โดยกิจการเพื่อ
สังคมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของบุคลากรในกิจการเพื่อสังคมและ
ผู้รับบริการเป็นสำคัญ เน้นความร่วมมือระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับภาคส่วนต่างๆ โดย
กิจการเพื่อสังคมต้องมีความสามารถในการพึ่งพาและเลี้ยงดูกิจการเพื่อสังคมได้เพื่อลดภาระทาง
งบประมาณของภาครัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและเพิ่มความคล่องตัวในการจัดบริการ
สาธารณะ โดยต้องดำเนินงานภายใต้การกำกับดูแลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามหลักการ
ธรรมาภิบาล
อนึ่ง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นก็สามารถให้การสนับสนุน ให้ความร่วมมือ หรือถ่ายโอน
งานการจัดบริการสาธารณะให้กับกิจการเพื่อสังคมของเอกชนมาจัดบริการสาธารณะแทนองค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่นได้เพื่อแบ่งเบาภาระได้
จากหลักการใหญ่ทั้งสองด้าน นำไปสู่หลักการย่อยที่ต้องดำเนินการอีก 9 ด้านดังนี้
1) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไทยสามารถนำบริการสาธารณะทุกประเภทที่
กฎหมายให้อำนาจมาดำเนินการในรูปของกิจการพาณิชย์และกิจการเพื่อสังคม
กำหนดให้บริการสาธารณะทุกประเภทที่กฎหมายเปิดโอกาสให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
มีอำนาจสามารถนำมาจัดทำในรูปแบบกิจการพาณิชย์หรือกิจการเพื่อสังคมได้ ตามหลักความ
สามารถทั่วไปของท้องถิ่น (General Competence) ที่เห็นว่าการดำเนินกิจกรรมสาธารณะ
ทุกประเภทเป็นหน้าที่ของหน่วยการปกครองท้องถิ่นเสมอเว้นแต่มีกฎหมายกำหนดห้ามไม่ให้องค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการ ซึ่งในต่างประเทศก็กำหนดให้อำนาจหน้าที่ของท้องถิ่นตามหลัก
ความสามารถทั่วไปเพื่อเพิ่มความเป็นอิสระแก่ท้องถิ่น เช่น การวางหลักอำนาจทั่วไปของความ
สามารถ (The General Power of Competence) ของสหราชอาณาจักร เป็นต้น