Page 322 - kpi16531
P. 322

นวัตกรรมการพัฒนารายได้     30
                                                                                 ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น


                            ตัวคูณ หรือ ผลทวีคูณ (Multiplier effect) เป็นผลจากการใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นอันนำมาซึ่ง
                 รายได้และการบริโภคที่มากกว่ารายจ่ายที่ใช้ไป  ผลทวีคูณเกิดจากอุปสงค์ (Demand) หรือความ

                 ต้องการในการบริโภคสินค้าและบริการที่เพิ่มขึ้นของประชาชนซึ่งส่งผลให้เกิดการเพิ่มขึ้นของรายได้
                 ประชาชาติ  ผลทวีคูณเป็นหลักการที่สำคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจในท้องถิ่น  กล่าวคือ  การพัฒนา
                 เศรษฐกิจในท้องถิ่นช่วยกระตุ้นหรือก่อให้เกิดรายได้ที่เพิ่มขึ้นจากการลงทุน รายได้ดังกล่าวอาจอยู่ใน
                 รูปแบบของค่าจ้าง เงินเดือน ผลกำไร หรือเงินได้จากการประกอบกิจการ  เมื่อภาคเอกชนหรือ

                 ประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้นย่อมหมายถึงอำนาจการซื้อ (Purchasing power) ที่เพิ่มขึ้น กลุ่มคน
                 ดังกล่าวจะนำเงินที่ได้ไปใช้จ่ายต่อในระบบเศรษฐกิจ ส่งผลให้เกิดการหมุนเวียนและขยายตัวทาง

                 เศรษฐกิจต่อไป  ส่วนผลประโยชน์ที่ภาครัฐได้รับคือการที่รัฐบาลสามารถขยายฐานภาษี และอาจจัด
                 เก็บภาษีอากร ค่าธรรมเนียมและค่าบริการต่างๆ ได้เพิ่มมากขึ้น และประเทศโดยรวมอาจมีผลผลิต
                 มวลรวมประชาชาติ (Gross Domestic Product: GDP) ที่เพิ่มสูงขึ้นอันเป็นผลมาจากการพัฒนาและ
                 ขยายตัวของเศรษฐกิจในท้องถิ่น


                            การพัฒนาเศรษฐกิจในท้องถิ่นเป็นหนึ่งในแนวทางการเพิ่มรายได้ที่สำคัญขององค์กร
                 ปกครองส่วนท้องถิ่นในต่างประเทศ ขณะที่ประเทศไทยอาจยังไม่รู้จักหรือคุ้นเคยกับแนวทางนี้
                 มากนัก อย่างไรก็ตาม การพัฒนาเศรษฐกิจในท้องถิ่นถือเป็นทางเลือกใหม่ที่สำคัญและน่าสนใจซึ่งอาจ

                 ช่วยเพิ่มรายได้ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของไทยในยุคปัจจุบันที่ต้องพึ่งพาตนเองมากขึ้น

                  .2.2   กลยุทธ์และเครื่องมือในการพัฒนาเศรษฐกิจในท้องถิ่น


                         ในต่างประเทศ เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา การพัฒนาเศรษฐกิจในท้องถิ่นเน้นการดึงดูด
                 ขยาย และรักษาการลงทุนของภาคเอกชน กล่าวคือ รัฐบาลท้องถิ่นจะใช้กลยุทธ์รูปแบบต่างๆ เพื่อ
                 ดึงดูดให้ภาคเอกชนตัดสินใจมาลงทุนทำธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างฐานการผลิตหรือการขยายการ
                 ลงทุนทางธุรกิจ  รวมทั้งการรักษาไว้ซึ่งการประกอบการทางธุรกิจในท้องถิ่นของตน  (Morgan,

                 England, & Pelissero, 2007) กลยุทธ์ที่ใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจมีหลากหลาย กลยุทธ์หลักที่สำคัญ
                 มีอย่างน้อย 3 ประการ ดังนี้


                       4.2.2.1   การให้แรงจูงใจทางการเงิน (Fiscal incentives)

                               การให้แรงจูงใจทางการเงินถือเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญและเป็นที่นิยมในหลายท้องถิ่น
                 ในการดำเนินการตามกลยุทธ์  มีการนำเครื่องมือมาใช้ 3  ประเภทหลัก ได้แก่


                                 =  การลดหย่อนหรือยกเว้นการจัดเก็บภาษีของท้องถิ่นบางประเภทชั่วคราว  เช่น
                                     ภาษีโรงเรือน  ภาษีเงินได้นิติบุคคล  หรืออาจมีการงดจัดเก็บค่าธรรมเนียม
                                     บางประเภทให้แก่โรงงานหรือภาคธุรกิจในระยะเริ่มต้นของการดำเนินกิจการ

                                     ในท้องถิ่นดังกล่าว

                                 = การสนับสนุนด้านการเข้าถึงแหล่งเงินทุนโดยสนับสนุนให้ออกพันธบัตรเพื่อนำ

                                     เงินมาใช้ลงทุนในโครงการพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่เป้าหมาย  ซึ่งพันธบัตร
                                     ดังกล่าวจะเป็นพันธบัตรที่มีดอกเบี้ยเงินกู้ต่ำและมีกำหนดระยะเวลาใช้เงินคืน
                                     ในระยะยาว (Long maturity) หรือการส่งเสริมการเข้าถึงแหล่งเงินทุนโดยวิธี

                                     อื่นๆ
   317   318   319   320   321   322   323   324   325   326   327