Page 324 - kpi16531
P. 324

นวัตกรรมการพัฒนารายได้     30
                                                                                 ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น


                 ช่องทางในการจัดหาแหล่งเงินทุนนอกเหนือไปจากแหล่งเงินทุนโดยทั่วไป (ธนาคารหรือสถาบัน
                 การเงิน) และอาจส่งเสริมให้เกิดการถ่ายโอนความรู้ เช่น ความรู้ด้านเทคโนโลยี และความรู้ด้าน

                 การบริหาร จากภาคเอกชนสู่ภาครัฐ

                               ความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนมีหลายรูปแบบ เช่น

                                 = กลุ่มความร่วมมือในการพัฒนาเศรษฐกิจ (Economic Development

                                     Corporations)  ซึ่งให้ความช่วยเหลือในเรื่องการวางแผนและการเงินในการ
                                     พัฒนาเศรษฐกิจในท้องถิ่น

                                 = การให้ความช่วยเหลือด้านการจ้างงานและฝึกอบรมแรงงาน  อาจถือเป็นความ

                                     ร่วมมือด้านการศึกษา ทั้งนี้ความช่วยเหลือดังกล่าวส่งผลให้เกิดการพัฒนา
                                     คุณภาพแรงงาน ลดปัญหาการเลิกจ้างและการขาดแคลนแรงงานในบางสาขา

                                 = การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานร่วมกันของภาครัฐและเอกชน เช่น การก่อสร้าง

                                     ถนน สะพาน ทางด่วน รถไฟฟ้า รถใต้ดิน การวางระบบโทรคมนาคมและการ
                                     สื่อสาร ระบบสาธารณูปโภค และโครงสร้างของแหล่งพลังงานต่างๆ ซึ่งรูปแบบ
                                     ของความร่วมมือดังกล่าวมีหลายประเภท (เช่น Build-Operate-Transfer,

                                     Lease agreement, Concession ฯลฯ) ความร่วมมือลักษณะนี้ได้รับความนิยม
                                     มากขึ้นเนื่องจากเป็นการลดค่าใช้จ่ายและลดความเสี่ยงต่างๆ ของภาครัฐ และ
                                     ก่อให้เกิดความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพในการให้บริการสาธารณะ


                               อย่างไรก็ตาม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอาจใช้กลยุทธ์และเครื่องมือในการ
                 พัฒนาเศรษฐกิจในท้องถิ่นที่แตกต่างออกไปจากตัวอย่างที่นำเสนอในข้างต้น ทั้งนี้ กลยุทธ์และ
                 เครื่องมือที่นำมาใช้ขึ้นอยู่กับปัญหา ลักษณะเฉพาะที่เป็นจุดเด่นและจุดด้อยขององค์กรปกครอง

                 ส่วนท้องถิ่น  รวมทั้งบริบทแวดล้อมอื่นๆ เช่น กฎหมาย ผู้นำ ค่านิยมและวัฒนธรรมขององค์กร
                 ปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นๆ

                  .2.3  กรณีตัวอย่างของการพัฒนาเศรษฐกิจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
                 ในต่างประเทศ


                       4.2.3.1 กลยุทธ์การให้แรงจูงใจทางการเงิน (Financial incentives)


                         = การลดหย่อนหรือยกเว้นการจัดเก็บภาษีท้องถิ่นบางประเภท

                            <  Nebraska, U.S.A. (Department of Economic Development, 2014): มลรัฐ

                               เนบร้าสกา ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ผ่านกฎหมายและจัดทำแผนจูงใจทางการเงิน
                               เพื่อดึงดูดให้ภาคเอกชนเข้ามาลงทุนทำธุรกิจในมลรัฐ ตัวอย่างของแผนดังกล่าว เช่น

                                  o  ภาคเอกชนที่เข้ามาลงทุนขั้นต่ำเป็นจำนวนเงิน 1 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ และสร้าง

                                     งานใหม่จำนวน 10 งาน จะได้รับเงินภาษีการค้า (Sales tax) คืนเป็นจำนวน
                                     50% ของเงินที่บริษัทใช้จ่ายในการลงทุนในโครงการ  เงินช่วยเหลือด้านค่าจ้าง
   319   320   321   322   323   324   325   326   327   328   329