Page 331 - kpi16531
P. 331

31       นวัตกรรมการพัฒนารายได้
                ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น


                             2 พันล้านเหรียญแคนาดา  การประมูลโครงการทางด่วนสาย 407 มีมูลค่าประมูลสูง
                             ที่สุดในประวัติศาสตร์ของแคนาดา นั่นคือ 3.1 พันล้านเหรียญดอลล่าร์แคนาดา


               ภาพที่ 15: ทางด่วนสาย 407 มลรัฐออนแทริโอในประเทศแคนาดา
























               ที่มา: 407 Express Toll Roads (n.d.) [http://www.407etr.com/highway/about-407-etr.html]

                         = Indiana, U.S.A. (Puentes, 2014): โครงการทางด่วนอินเดียน่า (Indiana Toll

                             Road) เป็นโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลมลรัฐอินเดียน่าและบริษัทเอกชนร่วม
                             ทุน Macquarie จากประเทศออสเตรเลีย และ Cintra จากประเทศสเปน โดยมีมูลค่า
                             สัมปทานทั้งหมด 3.85 พันล้านเหรียญดอลล่าร์สหรัฐ และระยะเวลาสัมปทาน 75 ปี

                             (เริ่มปี ค.ศ. 2006)  ทางด่วนดังกล่าวมีระยะทางประมาณ 157 ไมล์ และมีความ
                             สำคัญในด้านการคมนาคมและเศรษฐกิจ คือ เป็นถนนที่เชื่อมต่อกับทางด่วนสำคัญ
                             ของอีก 2 มลรัฐ ได้แก่ Chicago Skyway ของมลรัฐอิลินอยด์ และ Ohio Turnpike

                             ของมลรัฐโอไฮโอ

                        จากกรณีตัวอย่างการพัฒนาเศรษฐกิจในท้องถิ่นของต่างประเทศ พบว่า มีปัจจัยสำคัญ
               หลายประการที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการพัฒนาเศรษฐกิจในท้องถิ่น  ได้แก่


                        1) การให้ความสำคัญกับภาพรวมของการพัฒนา  กล่าวคือ ในการพัฒนาเศรษฐกิจ
               ของท้องถิ่นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรมองภาพรวมในการพัฒนา (Holistic/ Big picture of local
               development)  การพัฒนาควรเป็นไปในรูปแบบของการบูรณาการโดยมีการพัฒนาองค์ประกอบ

               หลายๆ ด้านควบคู่กันไป  ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาการบริหารจัดการการคลัง การพัฒนาทรัพยากร
               บุคคล (ทั้งผู้นำและผู้ตาม)  การพัฒนา ปรับ หรือเผยแพร่อัตลักษณ์ของชุมชน การพัฒนาความ
               ร่วมมือระหว่างภาคส่วนต่างๆ ทั้งภาครัฐ เอกชน รวมถึงประชาชนในชุมชน ตลอดจนการอนุรักษ์หรือ

               บริหารจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อให้การพัฒนาเศรษฐกิจเป็นไปอย่างยั่งยืนและส่งผลกระทบต่อ
               สิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของประชาชนในชุมชนให้น้อยที่สุด

                        2) การวางแผนเชิงกลยุทธ์ (Strategic planning) เพื่อให้การพัฒนาเศรษฐกิจในท้องถิ่น

               เกิดประโยชน์สูงสุด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องมีการวางแผนกลยุทธ์ที่ดี มีการกำหนดเป้าหมาย
   326   327   328   329   330   331   332   333   334   335   336