Page 353 - kpi16531
P. 353

33       นวัตกรรมการพัฒนารายได้
                ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น


               ของงบประมาณของรัฐบาล  และเพื่อสร้างผลงานอันนำไปสู่การเพิ่มคะแนนนิยมทางการเมือง
               โดยเฉพาะในช่วงเวลานั้นซึ่งใกล้กับการเลือกตั้งนายกรัฐมนตรีคนใหม่ของมลรัฐ (Campbell, 2003;

               Mylvaganam & Borins, 2004)

                      แม้ว่าโครงการทางด่วนสาย 407 จะส่งผลดีในด้านการกระตุ้นเศรษฐกิจในท้องถิ่น
               แต่สัญญาสัมปทานทางด่วนได้สร้างปัญหาความเดือดร้อนให้แก่ประชาชน เนื่องจากสัญญาดังกล่าว

               ระบุว่า ตราบใดที่เอกชนสามารถรักษาระดับของปริมาณรถที่ใช้บริการได้ตามเงื่อนไขในสัญญา บริษัท
               เอกชนร่วมทุนสามารถขึ้นค่าทางด่วนได้โดยไม่ต้องรออนุมัติหรือได้รับการอนุญาตจากรัฐบาล ซึ่ง
               ข้อตกลงดังกล่าวได้สร้างความเดือดร้อนและความไม่พอใจให้แก่ประชาชนเนื่องจากบริษัทเอกชน
               ร่วมทุนได้ขึ้นค่าผ่านทางในอัตราที่สูงขึ้นเรื่อยๆ และในความถี่ที่บ่อยครั้งมากขึ้น นอกจากนั้นสัญญา

               สัมปทานยังก่อให้เกิดปัญหาฟ้องร้องและข้อพิพาทต่างๆ ระหว่างบริษัทร่วมทุนและรัฐบาลในสมัย
               ต่อมา (Premier Dalton McGuinty) ปัญหาข้อพิพาทดังกล่าวยืดเยื้อกว่า 3 ปี และสร้างความเสียหาย

               ให้แก่ธุรกิจของบริษัทเอกชนร่วมทุนเป็นจำนวนเงินกว่า 6 ล้านเหรียญดอลล่าร์แคนาดา (Campbell,
               2003; McGran, 2006)

                . .  ข้อจำกัดอื่นๆ


                      เช่น การที่รัฐบาลกลางมองภาพลักษณ์และการบริหารงานของท้องถิ่นในทางลบ (การประชุม
               สนทนากลุ่มย่อย, 2557) กล่าวคือ  รัฐบาลกลางและหน่วยงานราชการบางแห่งมีทัศนคติว่า องค์กร
               ปกครองส่วนท้องถิ่นมีกระบวนการทำงานและการบริหารงานที่ไม่โปร่งใส ไม่มีประสิทธิภาพ มีการ

               ทุจริต และมักมีการใช้อำนาจเกินกว่าที่ได้ตามกฎหมาย ทัศนคติเหล่านี้ก่อให้เกิดความไม่ไว้วางใจใน
               การทำงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นำไปสู่การแทรกแซง ก้าวก่าย หรือจับผิดของหน่วยงาน
               จากรัฐบาลกลาง (เช่น สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน) นอกจากนั้น ทัศนคติดังกล่าวยังบั่นทอน

               กำลังใจและความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีความตั้งใจดีและ
               ทุ่มเทให้กับการพัฒนาท้องถิ่น




                .  ข้อเสนอแนะ


                . .1 ข้อเสนอแนะเชิงหลักการ


                      การพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนอกจากช่วยเพิ่มรายได้ให้แก่
               ท้องถิ่นในลักษณะทวีคูณแล้ว ยังช่วยเพิ่มศักยภาพในการจัดหาและการบริหารจัดการบริการ
               สาธารณะ รวมทั้งส่งเสริมการพัฒนาความสามารถในการบริหารจัดการด้านการเงินขององค์กร

               ปกครองส่วนท้องถิ่น การพัฒนาเศรษฐกิจในท้องถิ่นไม่มีสูตรตายตัว ดังนั้นผลสำเร็จของการพัฒนา
               เศรษฐกิจของท้องถิ่นหนึ่งมิได้หมายถึงความสำเร็จในการพัฒนาของอีกท้องถิ่นหนึ่ง แม้ทั้งสองท้องถิ่น
               อาจใช้กลยุทธ์และเครื่องมือในการพัฒนาที่เหมือนกัน ทั้งนี้ เนื่องจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

               ในแต่ละแห่งมีความแตกต่างกันในด้านต่างๆ เช่น ด้านอัตลักษณ์ ความพร้อมด้านทรัพยากร ภาวะ
               ผู้นำของท้องถิ่น และความรู้ความสามารถทางการบริหารจัดการของบุคลากร จึงทำให้ผลสัมฤทธิ์ของ
               การพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่แตกต่างกัน
   348   349   350   351   352   353   354   355   356   357   358