Page 356 - kpi16531
P. 356
นวัตกรรมการพัฒนารายได้ 33
ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ประเทศเสมอ และควรเป็นกฎหมายที่คำนึงถึงหลักเหตุผลและการนำไปปฏิบัติได้จริง ในทางตรงข้าม
เมื่อมีกฎหมายที่สนับสนุนและเปิดโอกาสให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการพัฒนาเศรษฐกิจ
ในท้องถิ่นได้สะดวกมากขึ้น ก็ควรจะมีกฎหมายที่ควบคุมและตรวจสอบการดำเนินการของโครงการ
พัฒนาดังกล่าวด้วย อย่างไรก็ตาม ลักษณะของกรอบกฎหมายทั้ง 2 ด้านนี้ควรส่งเสริม สอดคล้อง
และเป็นไปในทิศทางเดียวกัน มิใช่ขัดกันจนเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่ของท้องถิ่น
. .3 ข้อเสนอแนะเชิงสมรรถนะขององค์การ
ในประเทศไทย การพัฒนาเศรษฐกิจในท้องถิ่นนั้น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรมีการ
วางแผนยุทธศาสตร์ และ/หรือแผนธุรกิจที่ชัดเจน (ไม่ใช่เพียงแค่แผนยุทธศาสตร์แต่ในนามหรือ
แผนยุทธศาสตร์ในลักษณะของแผนปฏิบัติการ) ซึ่งแผนดังกล่าวต้องให้ความสำคัญแก่การพัฒนา
เศรษฐกิจในภาพรวมของท้องถิ่น มีการวิเคราะห์ศักยภาพของท้องถิ่นในด้านต่างๆ เช่น ศักยภาพ
ทางการเงิน การบริหารจัดการ และทรัพยากรมนุษย์ รวมทั้งการวิเคราะห์สถานะโดยรวมขององค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่นโดยใช้เทคนิคต่างๆ การวิเคราะห์ เช่น การทำ SWOT Analysis หรือ
การวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และภัยคุกคามขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเอง ซึ่งการ
วิเคราะห์ในแต่ละรูปแบบดังกล่าวจะสะท้อนให้เห็นถึงปัญหา ศักยภาพและความพร้อมที่แท้จริงของ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และช่วยให้ท้องถิ่นสามารถเลือกใช้กลยุทธ์และวิธีการในการพัฒนา
เศรษฐกิจในพื้นที่ของตนได้อย่างเหมาะสมกับสภาพความเป็นจริง
ในเชิงการพัฒนาสมรรถนะขององค์การโดยรวม บทความ Making it happen: A roadmap
for cities and local public services to achieve outcomes ของ PwC (n.d.) ได้นำเสนอแนวทาง
สำหรับการพัฒนาเมืองหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่น่าสนใจ โดยเน้นการพัฒนาแบบองค์รวม
(Holistic approach) กล่าวคือ เน้นการพัฒนาด้านการบริหารและการพัฒนานโยบายเพื่อจัดการทุน
ในด้านต่างๆ เพื่อส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจที่ยั่งยืนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้งนี้ องค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่นของไทยอาจนำมาประยุกต์ใช้เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาสมรรถนะของ
ท้องถิ่นและเพื่อนำไปสู่เป้าหมายหลักคือความสำเร็จในการพัฒนาเศรษฐกิจในท้องถิ่นนั่นเอง