Page 354 - kpi16531
P. 354

นวัตกรรมการพัฒนารายได้     33
                                                                                 ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น


                         นอกจากนั้น ในการพัฒนาเศรษฐกิจในท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไทย ภาครัฐ
                 และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นคิดนอกกรอบและคิดในเชิง

                 กลยุทธ์ ท้องถิ่นควรมีความสามารถที่จะริเริ่มและดำเนินโครงการพัฒนาเศรษฐกิจที่มากกว่าการพัฒนา
                 บริการสาธารณะพื้นฐาน เช่น ประปา ไฟฟ้า หรือถนน รวมทั้งต้องคำนึงถึงผลทวีคูณ (Multiplier
                 effects) ของกิจกรรมดังกล่าว ทั้งนี้การคิดนอกกรอบและคิดในเชิงกลยุทธ์เป็นการส่งเสริมการสร้าง
                 นวัตกรรมหรือรูปแบบการพัฒนาท้องถิ่นที่มีความแตกต่างแต่ก่อให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจที่ยั่งยืน

                 และเหมาะสมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นๆ ซึ่งท้องถิ่นต้องคำนึงถึงบริบทต่างๆ ประกอบ
                 นอกเหนือจากเศรษฐกิจ เช่น บริบทด้านสิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม และคุณภาพชีวิตของประชาชน

                 ตัวอย่างการพัฒนาเศรษฐกิจในท้องถิ่นของต่างประเทศที่โดดเด่นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของ
                 ไทยสามารถนำไปเป็นตัวอย่างหรือช่วยสร้างแรงบันดาลใจได้ เช่น โครงการบูรณะคลองชองเกซอน
                 คลองอันเลื่องชื่อใจกลางกรุงโซลของประเทศเกาหลีใต้  หรือโครงการวางระบบโครงสร้างพื้นฐาน
                 อย่างเป็นระบบที่เมืองโยโกฮามา ประเทศญี่ปุ่น


                         ในการพัฒนาเศรษฐกิจในท้องถิ่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องให้ความสำคัญต่อการ
                 จัดทำแผนกลยุทธ์ในการพัฒนา รวมทั้งควรมีการวิเคราะห์หรือประเมินโครงการทั้งก่อนและหลังการ
                 พัฒนา กล่าวคือ ก่อนการตัดสินใจดำเนินโครงการต้องมีวิเคราะห์ต้นทุนและผลประโยชน์ของโครงการ

                 (Cost-Benefit Analysis) ตลอดจนความไปได้ของโครงการ (Feasibility Study) ถ้าต้นทุนมากกว่า
                 ผลประโยชน์โดยรวมที่จะได้รับ  องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอาจต้องมีการพิจารณาให้รอบคอบ

                 อีกครั้งหนึ่งว่าจะยังจะดำเนินโครงการดังกล่าวหรือไม่ หรืออาจมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบโครงการเพื่อ
                 ให้เกิดผลกระทบในทางลบให้น้อยที่สุด ในกรณีที่มีการดำเนินโครงการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
                 ต้องมีการประเมินผลการดำเนินโครงการอย่างชัดเจนและโปร่งใส และเนื่องจากแผนหรือโครงการ
                 พัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่ส่วนใหญ่ใช้เงินลงทุนเป็นจำนวนมาก จึงควรมีการสร้างกลไกที่เหมาะสม

                 เพื่อดูแลตรวจสอบการดำเนินงานในแต่ละขั้นตอนของโครงการ การใช้เงิน และผลงานว่าสอดคล้อง
                 และตรงตามวัตถุประสงค์ของโครงการหรือไม่ ทั้งนี้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานของรัฐบาล
                 กลาง และที่สำคัญคือประชาชนในชุมชนควรมีส่วนร่วมในการตรวจสอบดังกล่าวเพื่อสร้างความ

                 โปร่งใสและความรับผิดชอบร่วมกันของทุกฝ่าย

                         เนื่องจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของไทยมีข้อจำกัดในเรื่องอำนาจหน้าที่ในการนำ

                 กลยุทธ์การให้แรงจูงใจทางการเงินไปใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่ ซึ่งอำนาจดังกล่าวเป็นของ
                 รัฐบาลกลางหรือหน่วยงานของรัฐบาลกลาง  ทั้งนี้ควรมีการเปิดโอกาสหรือให้อำนาจแก่ท้องถิ่นได้มี
                 ส่วนร่วมในการพิจารณาและตัดสินใจในการให้แรงจูงใจทางการเงินแก่ภาคเอกชนที่สนใจเข้ามาพัฒนา
                 ธุรกิจในพื้นที่ โดยอาจเป็นการดำเนินการร่วมกันระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและ BOI หรือ

                 SMEs (เช่น  ท้องถิ่นพิจารณาและนำเสนอ Incentive packages และให้ BOI ร่วมพิจารณา) หรือ
                 การให้อำนาจในระดับหนึ่งแก่ท้องถิ่นในการพิจารณาและตัดสินใจให้ Financial incentive packages
                 แก่ธุรกิจด้วยตนเอง หรือ การตั้งหน่วยงานเฉพาะเพื่อวางแผนและพิจารณาประเด็นสำคัญต่างๆ ใน

                 การพัฒนาเศรษฐกิจของท้องถิ่น เช่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานพัฒนาเศรษฐกิจ
                 ในระดับภูมิภาค เป็นต้น
   349   350   351   352   353   354   355   356   357   358   359