Page 370 - kpi16531
P. 370
นวัตกรรมการพัฒนารายได้ 3 3
ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
เงินลงทุนและให้ความช่วยเหลือด้านเทคนิควิชาการแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
(Regional Urban Development Fund Office, n.d.; สกนธ์ วรัญญวัฒนา,
2553, น. 66)
< จีน รัฐบาลกลางมีการออกกฎระเบียบห้ามไม่ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
กู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินหรือตลาดทุนโดยตรง ส่งผลให้องค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่นต้องจัดตั้งบริษัทที่เป็นตัวกลางทางการเงิน (Local Government
Financing Vehicle: LGFV) เพื่อกู้เงินจากสถาบันการเงินมาใช้ในการลงทุน
โครงสร้างพื้นฐานในท้องถิ่น โดยใช้ที่ดินของรัฐบาลท้องถิ่นเป็นหลักประกัน
การกู้เงิน (มนัสชัย จึงตระกูล, 2554)
< โรมาเนีย การกู้ยืมเงินของท้องถิ่นเป็นเครื่องมือใหม่อย่างหนึ่งที่ใช้เพื่อเพิ่ม
งบประมาณการลงทุนของท้องถิ่นให้มากขึ้น โดยเกิดขึ้นครั้งแรกในปี 1998
ตามกฎหมายการเงินท้องถิ่นฉบับใหม่ ซึ่งได้กำหนดแนวทางการกู้ยืมเงินไว้
2 รูปแบบ ได้แก่ การกู้ยืมจากธนาคารพาณิชย์ และการออกพันธบัตร โดย
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถกู้ยืมเงินจากแหล่งเงินกู้ภายนอกได้ด้วย
โดยมีข้อกำหนดสำหรับการกู้ยืมเงินจากแหล่งกู้ยืมภายนอกไว้ว่า เมื่อมีการทำ
สัญญากู้เงินกับสถาบันการเงินภายนอก ท้องถิ่นต้องได้รับการอนุมัติจากคณะ
กรรมการเพื่ออนุมัติเงินกู้ก่อน (คณะกรรมการประกอบไปด้วย ตัวแทนของ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รัฐบาล และธนาคารแห่งชาติโรมาเนีย) ซึ่งคณะ
กรรมการจะมีกำหนดการประชุมทุกเดือน และจะพิจารณาข้อเสนอขององค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่นต่างๆ โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจะสามารถรับ
ประกันการทำสัญญาการกู้เงินกับแหล่งเงินกู้ภายนอกของท้องถิ่นได้ ซึ่งใน
กรณีนี้รัฐมนตรีจะมีอำนาจในการควบคุมกระบวนการทำสัญญาและการชำระ
คืนเงินกู้ของท้องถิ่น
โดย Dana Weist (2002: 7) ได้กล่าวสรุปถึงกฎระเบียบหรือขอบเขตในการกู้ยืมเงิน
ของท้องถิ่นในแต่ละประเทศไว้ดังตารางที่ 49 นี้