Page 374 - kpi16531
P. 374
นวัตกรรมการพัฒนารายได้ 3
ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
2. แนวทางที่ใช้ความร่วมมือในก่อหนี้ของท้องถิ่น (Cooperative approach to
subnational debt) ตามแนวทางนี้ขอบเขตในการก่อหนี้ไม่ได้ถูกกำหนดโดยกฎหมายหรือรัฐบาล
กลาง แต่ขึ้นอยู่กับการเจรจาต่อรองหรือประชุมร่วมกันระหว่างรัฐบาลกลางและรัฐบาลท้องถิ่น
โดยรัฐบาลท้องถิ่นจะเข้าไปมีส่วนร่วมโดยการกำหนดวัตถุประสงค์ของเศรษฐกิจมหภาค และกำหนด
ค่าพารามิเตอร์ทางการคลังที่สำคัญในการบรรลุวัตถุประสงค์ต่างๆ ซึ่งวิธีการนี้จะเป็นประโยชน์ในแง่
การช่วยให้เกิดการเจรจากันระหว่างรัฐบาลระดับต่างๆ
3. แนวทางที่ใช้กฎในการควบคุมการก่อหนี้ของท้องถิ่น (Rule-based approaches to
controlling subnational borrowing) เป็นวิธีการที่จำกัดการกู้ยืมเงินของท้องถิ่นมากขึ้น โดยการ
กำหนดขอบเขตของการกู้ยืมเงินไว้ในรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายฉบับต่างๆ บางส่วนของกฎเหล่านี้
อาจจะกำหนดอำนาจในการก่อหนี้ของท้องถิ่นแต่ละชนิดไว้อย่างชัดเจน หรือบางกฎก็กำหนดให้ใช้
เพียงวัตถุประสงค์เฉพาะอย่าง และกฎบางข้อก็จะกำหนดสัดส่วนระหว่างระดับหนี้สูงสุดเทียบกับราย
จ่ายรวมเพื่อใช้กำหนดขอบเขตในการกู้ยืมเงินครั้งใหม่ รวมทั้งการจำกัดการกู้ยืมบางอย่างที่จะส่งผล
ให้เกิดความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจมหภาค ซึ่งหลายๆประเทศอาจใช้หลายๆวิธีการร่วมกัน โดยทั่วไปแล้ว
กฎระเบียบในการกู้ยืมเงินของท้องถิ่นจะครอบคลุมถึงความโปร่งใส และหลีกเลี่ยงขั้นตอนการเจรจา
ต่อรองระหว่างรัฐบาลกลางและรัฐบาลท้องถิ่น
4. การควบคุมโดยตรงจากรัฐบาลกลางเหนือการก่อหนี้ของท้องถิ่น (Direct central
government control over subnational borrowing) เป็นวิธีการที่อยู่ตรงข้ามกับแนวทางกลไกตลาด
อย่างสิ้นเชิง โดยวิธีการนี้เป็นการควบคุมโดยตรงของรัฐบาลกลางเหนือการกู้ยืมเงินของท้องถิ่น
ซึ่งการควบคุมอาจหมายถึงทุกๆการกู้ยืมเงินจากผู้ให้กู้จะต้องได้รับการตรวจสอบและอนุมัติโดย
รัฐบาลกลาง รวมทั้งการรวมศูนย์การกู้ยืมเงินทุกระดับโดยการปล่อยเงินกู้ให้กับรัฐบาลท้องถิ่น
เพื่อดำเนินการตามวัตถุประสงค์เฉพาะ
5. การห้ามไม่ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกู้ยืมเงิน (Borrowing Prohibited) ซึ่ง
วิธีการนี้เป็นวิธีการควบคุมสูงสุด โดยห้ามไม่ให้ท้องถิ่นกู้ยืมเงิน
จากกฎเกณฑ์และวิธีดังกล่าวข้างต้น Ter-Minassian และ Craig (1997) ได้สรุปเป็น
ตารางวิธีการควบคุมการก่อหนี้ของท้องถิ่นในแต่ละประเทศ โดยจำแนกประเทศเป็น 2 ประเภท
ได้แก่ ประเทศอุตสาหกรรม (Industrial countries) และประเทศกำลังพัฒนา (Developing
Countries) สามารถสรุปได้ดังตารางที่ 50 นี้