Page 378 - kpi16531
P. 378
นวัตกรรมการพัฒนารายได้ 3 1
ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
.3 สถานการณ์ในประเทศไทย
.3.1 สถานะทางกฎหมาย
5.3.1.1 กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการกู้ยืมและพันธบัตรขององค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่น
ประเทศไทยได้มีกฎหมาย ระเบียบ และประกาศที่เกี่ยวข้องกับการกู้ยืมและพันธบัตร
ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอยู่หลายฉบับ โดยสามารถสรุปได้ดังนี้
1. พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 มาตรา 28(8) (9) และ (10) ได้บัญญัติไว้ว่า “องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
อาจมีรายรับดังต่อไปนี้ (8) รายได้จากการจำหน่ายพันธบัตร (9) เงินกู้จากกระทรวง ทบวง กรม
องค์การ หรือนิติบุคคลต่างๆ (10) เงินกู้จากต่างประเทศ องค์การต่างประเทศ หรือองค์การระหว่าง
ประเทศ”
2. พระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 (แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2551)
มาตรา 19 ระบุไว้ว่า “ในกรณีที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใดกู้เงินโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมาย
ที่จัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นหรือกฎหมายอื่นใด โดยมิใช่เป็นการกู้เงินจากกระทรวง
การคลัง ห้ามมิให้กระทรวงการคลังหรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐเข้ารับผิดชอบหรือค้ำประกันหนี้นั้น
หรือตั้งงบประมาณรายจ่ายเพื่อชำระเงินต้นหรือดอกเบี้ยเงินกู้ดังกล่าว”
3. พระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 (แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่
4) พ.ศ. 2552) มาตรา 73 (6) (7) ได้ระบุไว้ว่า “องค์การบริหารส่วนจังหวัดอาจมีรายได้ ดังต่อไปนี้
(6) พันธบัตรหรือเงินกู้ตามที่มีกฎหมายบัญญัติไว้ (7) เงินกู้จากกระทรวง ทบวง กรม องค์การ หรือ
นิติบุคคลต่างๆ ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรี
4. พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 (และที่แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 13 พ.ศ.
2552) มาตรา 66 (5) (6) ได้บัญญัติไว้ว่า “เทศบาลอาจมีรายได้ ดังต่อไปนี้ (5) พันธบัตรหรือ
เงินกู้ตามแต่จะมีกฎหมายกำหนดไว้ (6) เงินกู้จากกระทรวง ทบวง กรม องค์การ หรือนิติบุคคล
ต่างๆและการกู้เงินตาม (6) เทศบาลจะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากสภาเทศบาล และได้รับ
อนุมัติจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยแล้ว”
5. พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 (และที่แก้ไข
เพิ่มเติมถึงฉบับที่ 6 พ.ศ. 2552) มาตรา 83 ซึ่งระบุไว้ว่า “องค์การบริหารส่วนตำบลอาจกู้เงิน
จากกระทรวง ทบวง กรม องค์การ หรือนิติบุคคลต่างๆได้ เมื่อได้รับอนุญาตจากสภาองค์การบริหาร
ส่วนตำบล และการกู้ตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามระเบียบของกระทรวงมหาดไทย”
6. ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2549 ได้บัญญัติ
ไว้ใน ข้อ 11 ว่า “ให้หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ สถาบันการเงินภาครัฐ หน่วยงานในกำกับดูแลของ
รัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแจ้งแผนการบริหารหนี้สาธารณะให้สำนักงานทราบตามตารางเวลา