Page 373 - kpi16531
P. 373
3 นวัตกรรมการพัฒนารายได้
ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
Municipal Enterprise) ให้กู้ยืมคิดเป็นจำนวนเกือบร้อยละ 60 การกู้ยืมเงินท้องถิ่น
จากกองทุนสาธารณะจึงเกิดขึ้นอย่างมาก นอกจากนี้สามในสี่ของกองทุนส่วนบุคคล
ที่ได้รับจากการออกพันธบัตรแบบเฉพาะเจาะจง สามารถจัดหาจากสถาบันการเงิน
ที่เกี่ยวข้องในท้องถิ่น หุ้นพันธบัตร publicly advertised bonds สำหรับนักลงทุนมีเป็น
จำนวนมากแต่มีการระบุให้ถือได้เพียงร้อยละ 9 หรือน้อยกว่า ในอีกทางหนึ่ง
ผู้เสียภาษีอากรหรือนักลงทุนมีความสามารถในการตรวจสอบการบริหารจัดการ
งบประมาณของผู้มีอำนาจในท้องถิ่น มันก็ไม่น่าแปลกใจที่จะเห็นค่าใช้จ่ายของ
พันธบัตรในท้องถิ่นที่มีอยู่สม่ำเสมอเกือบทั่วทั้งภูมิภาคโดยไม่คำนึงถึงสภาพคล่อง
และความน่าเชื่อถือ แต่อย่างไรก็ตามยังมีความกังวลเกี่ยวกับการรับประกันของ
รัฐบาล ทั้งผู้เสียภาษีอากรหรือนักลงทุนต่างคำนึงถึงความเสี่ยงด้านเครดิตของหุ้นกู้
ที่ออกโดยหน่วยงานท้องถิ่นที่มีปัญหาทางการเงิน ประชาชนในท้องถิ่นไม่มีแรงจูงใจ
ที่จะให้นายกเทศมนตรีออกจากตำแหน่ง นอกจากนี้ตลาดสินเชื่อและผู้เสียภาษีก็มี
จำนวนน้อยที่สามารถใช้อำนาจในการออกระเบียบต่างๆได้ (Nobuki Mochida,
2008: 125-126)
< แอฟริกาใต้ รัฐบาลท้องถิ่นของประเทศแอฟริกาใต้ได้รับการอนุญาตให้ออกพันธบัตร
ได้ ณ ปัจจุบัน (ข้อมูลถึงปี 2012) มีเมืองขนาดใหญ่ 3 แห่งที่มีการกู้ยืมโดยการออก
พันธบัตร ได้แก่ เมืองโยฮันเนสเบิร์ก เมืองเคปทาวน์ และเมืองเอกอูฮูเลนี่ ตัวอย่าง
ของวัตถุประสงค์ในการออกพันธบัตร เช่น เมืองโยฮันเนสเบิร์กออกพันธบัตรเพื่อนำ
เงินไปปรับปรุงและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในท้องถิ่นเพื่อเตรียมเป็นเจ้าภาพจัด
บอลโลกในปี ค.ศ. 2010 ที่ผ่านมา ในกรณีของเมืองหรือท้องถิ่นขนาดเล็ก การกู้ยืม
โดยการออกพันธบัตรยังไม่เป็นที่นิยมมากนัก เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยที่ไม่แตกต่าง
กันมากนักเมื่อกู้ยืมจากสถาบันการเงิน ค่าใช้จ่ายในการออกพันธบัตรที่ค่อนข้างสูง
ซึ่งไม่คุ้มค่าเมื่อเทียบกับวงเงินที่ต้องการกู้ รวมทั้งการที่ท้องถิ่นเหล่านั้นไม่มี
ประวัติการจัดลำดับเครดิตซึ่งมีเป็นข้อมูลที่สำคัญส่วนหนึ่งที่ต้องใช้ในการออก
พันธบัตร (Issarachaiyos, 2012)
สำหรับแนวทางในการควบคุมหรือกำหนดขอบเขตการกู้เงินของท้องถิ่นนั้น Ter-Minassian
และ Craig (1997) ได้อธิบายถึงแนวทางการกู้เงินและการกำหนดขอบเขตการกู้เงินของประเทศ
ต่างๆ โดยสรุปว่าวิธีการในการควบคุมการกู้ยืมเงินของท้องถิ่นแบ่งออกเป็น 5 กลุ่มหลัก
(บางประเทศอาจใช้วิธีการหลายวิธีผสมกัน) อันได้แก่
1. ความเชื่อมั่นในกลไกตลาด (Reliance on market discipline) ตามหลักการนี้
ได้กำหนดกฎในการกู้เงินของรัฐบาลท้องถิ่นไว้ดังนี้
< ตลาดควรเป็นอิสระและรัฐไม่ควรเข้ามาควบคุมตลาด
< ต้องมีข้อมูลเพียงพอ ได้แก่ สถานะหนี้ของผู้กู้ยืมและความสามารถในการชำระหนี้คืน
< ไม่ควรให้ผู้ที่เคยผิดนัดชำระหนี้กู้ใหม่
< ผู้กู้ยืมควรมีนโยบายที่ตอบสนองต่อสัญญาณของตลาด (Market Signal)