Page 377 - kpi16531
P. 377
3 0 นวัตกรรมการพัฒนารายได้
ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
นอกจากนี้ยังมีเจฟเฟอร์สันเคาน์ตี ในรัฐแอละแบมา มีหนี้สินมากกว่า 4 พันล้าน
ดอลลาร์ขณะยื่นศาลเมื่อปี 2554 ซึ่งการยื่นขอล้มละลายของเจฟเฟอร์สัน เคาน์ตี้ได้เพิ่มความวิตก
กังวลเกี่ยวกับความเสี่ยงในตลาดพันธบัตรเทศบาลซึ่งมีมูลค่ารวมกันกว่า3.7 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ
หลังจากที่เพิ่งได้รับผลกระทบจากวิกฤติหนี้ในเมืองแฮร์ริสเบิร์ก ซึ่งเป็นเมืองหลวงของรัฐ
เพนซิลวาเนีย นอกจากนี้ยังมีเมืองสต็อกตันในแคลิฟอร์เนียเหนือซึ่งมีประชากรทั้งหมดประมาณ
292,000 คน ก็ได้ยื่นล้มละลายเมื่อเดือนมิถุนายน 2555โดยมีภาระหนี้กว่าล้านเหรียญสหรัฐ หรือ
ประมาณ 780 ล้านบาท
อีกประเทศหนึ่งที่ประสบปัญหาหรือเกิดความเสี่ยงจากการกู้เงินของท้องถิ่นก็คือ
ประเทศจีน (มนัสชัย จึงตระกูล, 2554) กล่าวคือ ปัญหาเชิงโครงสร้างภายใต้ระบบการคลังปัจจุบัน
รวมทั้งวิกฤติเศรษฐกิจการเงินโลกในปี 2008 ส่งผลให้รัฐบาลท้องถิ่นของจีนต้องกู้ยืมเงินจากสถาบัน
การเงินมาใช้จ่ายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจเป็นจำนวนมาก รวมทั้งปัญหาจากการที่รัฐบาลกลางไม่มี
กลไกในการตรวจสอบและประเมินความเสี่ยงของ Local Government Financing Vehicle (LGFV)
อย่างเหมาะสม ส่งผลให้หนี้ของรัฐบาลท้องถิ่นจีนเพิ่มสูงขึ้นมาก กลายเป็นความเสี่ยงที่สำคัญต่อ
เศรษฐกิจและเสถียรภาพของสถาบันการเงินจีน
โดยหน่วยงานต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศได้ประมาณการปริมาณหนี้ของรัฐบาล
ท้องถิ่นจีนว่าอยู่ระหว่าง 9.09 - 14.4 ล้านล้านหยวน แต่ข้อมูลที่น่าเชื่อถือมากที่สุดในเวลานี้ และ
เป็นข้อมูลที่รัฐบาลจีนใช้อ้างอิง คือ ข้อมูลที่ได้จากการสำรวจของ China’s National Audit Office
(NAO) โดยมูลค่าหนี้ของรัฐบาลท้องถิ่นจีน ณ สิ้นเดือนมิถุนายนเมื่อปี 2556 พบว่า เฉพาะหนี้
โดยตรงมีมูลค่าหนี้จำนวน 1.088 หมื่นล้านหยวน (1.79 พันล้านดอลลาร์) และอีก 6.99 พันล้าน
หยวน (1.1 พันล้านดอลลาร์) ในรูปหนี้สินที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต (ประชาชาติธุรกิจออนไลน์,
2557) นอกจากนี้ยังพบอีกว่า มูลค่าหนี้ประมาณครึ่งหนึ่ง (ร้อยละ 46) ของหนี้รัฐบาลท้องถิ่นจีน
เกิดจากการก่อหนี้ผ่าน LGFV โดยมีการก่อหนี้ผ่าน LGFV จำนวนเงินสูงถึง 4.97 ล้านล้านหยวน
หรือ ร้อยละ 12 ของ GDP (มนัสชัย จึงตระกูล, 2554) โดยรัฐบาลท้องถิ่นจีนได้ทุ่มเงินลงทุน
มหาศาลในโครงการสร้างถนนทางหลวง การก่อสร้างห้างสรรพสินค้า ตึก อาคาร และอพาร์ทเมนท์
ส่งผลให้รัฐบาลท้องถิ่นจีนตกอยู่ภายใต้แรงกดดันด้านปัญหาทางการเงิน เนื่องจาก
มีหนี้มหาศาลที่เกิดจากการไปกู้ยืมเงินมาหลายช่องทาง ประกอบกับท้องถิ่นจีนมีรายได้จากการ
ขายเช่าที่ดินน้อยลง อันเนื่องมาจากมาตรการลดความร้อนแรงของตลาดอสังหาริมทรัพย์ของรัฐบาล
กลาง โดยแหล่งรายได้ที่กลุ่มรัฐบาลท้องถิ่นในประเทศจีนคาดหวังคือ ผลกำไรจากการลงทุน
โครงสร้างพื้นฐาน แต่ในความเป็นจริงแล้วโครงการที่ลงทุนกลับขาดทุน ไม่ได้รับผลตอบแทนตามที่
คาดหวัง ซึ่งอาจส่งผลให้รัฐบาลท้องถิ่นอาจจะไม่สามารถชำระคืนหนี้ตามกำหนด หรือผิดนัดชำระหนี้
จนกลายเป็นหนี้เสียในอนาคต โดยกระทรวงการคลังได้อนุมัติมาตรการในการแก้ปัญหาหนี้ของ
ท้องถิ่นด้วยการอนุญาตให้มหานครเซี่ยงไฮ้ มณฑลเจ้อเจียง มณฑลก่วงตง และเมืองเศรษฐกิจ
เซินเจิ้น สามารถออกพันธบัตรได้ตามความเหมาะสม (ผู้จัดการออนไลน์, 2554)