Page 196 - kpi16531
P. 196
นวัตกรรมการพัฒนารายได้ 1
ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
การที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ตได้ทำสัญญามอบหมายการบริหารงานจัดการ
โรงพยาบาลให้แก่เอกชน โดยเอกชนเป็นผู้รับภาระในการบริหารโรงพยาบาลและ
รับผิดชอบในการให้การรักษาพยาบาลแก่ประชาชน จัดหาแพทย์ พยาบาล และบุคลากร
ที่เกี่ยวข้องอื่นมาดำเนินการ การดำเนินการดังกล่าวย่อมมีผลเป็นการมอบหมาย
การปฏิบัติหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ตให้เอกชนเป็นผู้รับผิดชอบ โดยมิใช่
เป็นการมอบให้เอกชนเป็นผู้ดำเนินการตามมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติองค์การ
บริหารส่วนจังหวัดฯ การดำเนินการของโรงพยาบาลจึงเป็นไปตามเงื่อนไขของสัญญา
ที่ทำขึ้นระหว่างองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต กับบริษัทที่เข้ามาเป็นคู่สัญญา
นอกจากนั้นการที่เอกชนเข้ามาบริหารกิจการย่อมมีวัตถุประสงค์ในการแสวงหากำไร
การดำเนินการเช่นนั้นจึงยากที่จะอยู่ภายใต้การควบคุมของฝ่ายนิติบัญญัติตามระบบการ
ปกครองท้องถิ่นที่กฎหมายกำหนดไว้ จึงไม่อาจกระทำได้ เพราะเป็นการนอกเหนือจาก
ขอบเขตที่กฎหมายให้อำนาจไว้
2) ข้อจำกัดที่เกิดจากบทบัญญัติของกฎหมาย
2.1) นิยามคำว่า “มูลฝอย” ในพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535
แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 2 ) พ.ศ. 2550
มาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 แก้ไขเพิ่มเติมถึง
ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2550 บัญญัติคำว่า “มูลฝอย” หมายความว่า เศษกระดาษ เศษผ้า เศษอาหาร
เศษสินค้า เศษวัตถุ ถุงพลาสติก ภาชนะที่ใส่อาหาร เถ้า มูลสัตว์ ซากสัตว์ หรือสิ่งอื่นใดที่เก็บกวาด
จากถนน ตลาด ที่เลี้ยงสัตว์ หรือที่อื่น และหมายความรวมถึงมูลฝอยติดเชื้อ มูลฝอยที่เป็นพิษหรือ
อันตรายจากชุมชน
คำนิยามดังกล่าวไม่ได้ระบุถึงมูลฝอยในทะเล แม้มีการระบุคำว่า “ขยะในที่อื่น”
แต่ความหมายก็ยังไม่ครอบคลุมพื้นที่ทะเลอย่างชัดเจน ซึ่งปัจจุบันขยะที่มีแหล่งกำเนิดในทะเลมี
ปริมาณค่อนข้างมาก ทั้งในรูปของขยะอุปโภค บริโภค สินค้าที่เหลือจากการขนถ่ายทั้งประเภท
เกษตรกรรมและสินค้าที่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม เช่น ปูนซีเมนต์ ถ่านหิน เป็นต้น รวมทั้งน้ำเสียที่เกิด
จากการล้างท้องเรือ และถ่ายน้ำมันเครื่องยนต์
2.2) อำนาจในการกำหนดค่าธรรมเนียมการกำจัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล
มาตรา 20 (4) แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 แก้ไขเพิ่มเติม
ถึงฉบับที่ 2 พ.ศ. 2550 บัญญัติให้ราชการส่วนท้องถิ่นมีอำนาจออกข้อกำหนดท้องถิ่นเพื่อกำหนด
อัตราค่าธรรมเนียมการให้บริการของราชการส่วนท้องถิ่นในการเก็บและขนสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย
ไม่เกินอัตราตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรานี้ไม่ได้บัญญัติให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอำนาจในการกำหนดอัตรา
ค่าธรรมเนียมการให้บริการกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย แม้ว่าเป็นกฎหมายหลักทางด้านการ
สาธารณสุขก็ตาม ขณะที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอำนาจในการกำหนดอัตราค่าบริการกำจัดของ