Page 201 - kpi16531
P. 201
1 นวัตกรรมการพัฒนารายได้
ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
สามารถจัดเก็บค่าธรรมเนียมการใช้บริการสาธารณะได้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรทำการจัดเก็บ
ค่าธรรมเนียมการใช้บริการสาธารณะนั้น หรือกล่าวได้ว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรทำการ
จัดเก็บค่าธรรมเนียมการใช้บริการสาธารณะจากบริการสาธารณะทุกประเภทที่มีอำนาจในการจัดเก็บ
อยู่แล้ว
ตารางที่ 28: การบริการสาธารณะตามอำนาจหน้าที่ที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถจัดเก็บ
ค่าธรรมเนียมการใช้บริการ
การบริการสาธารณะ กทม. อบจ. เทศบาล พัทยา อบต.
1. การจัดให้มีโรงฆ่าสัตว์/โรงพักสัตว์
พ.ร.บ.ควบคุมการฆ่าและจำหน่ายเนื้อสัตว์ พ.ศ. / / /
2535
2. การบำบัดน้ำเสีย/น้ำทิ้ง
พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม / / / /
แห่งชาติ พ.ศ. 2535 (ม.80, ม.90 และ ม.93)
3. การเก็บ ขน ขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล
พ.ร.บ.การสาธารณสุข พ.ศ. 2535 แก้ไขเพิ่มเติม / / / /
ถึง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550 (ม.20 และม. 63)
4. การกำจัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล
พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม / / / /
แห่งชาติ พ.ศ. 2535 (ม.88 และ ม.93)
5. การจัดระเบียบจอดยานยนตร์
พ.ร.บ.จัดระเบียบการจอดยานยนตร์ในเขตเทศบาล
และสุขาภิบาล พ.ศ. 2503 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมถึง / / / /
ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2535
6. การควบคุมการก่อสร้าง
พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 2) / / /
พ.ศ. 2535 (เทศบาลนคร)
7. การตั้งสุสานและฌาปนสถาน
พ.ร.บ.สุสานและฌาปนสถาน พ.ศ. 2528 / / /
8. การฉีดวัคซีน / โรคพิษสุนัขบ้า
พ.ร.บ.โรคพิษสุนัขบ้า พ.ศ. 2535 / / /
ที่มา: ผู้วิจัย
1.2) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรออกข้อบัญญัติเพื่อจัดเก็บค่าธรรมเนียมการ
ใช้บริการสาธารณะจากบริการสาธารณะที่จัดให้บริการ
หากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดให้บริการสาธารณะที่นอกเหนือจากตารางที่ 26
ดังกล่าวข้างต้น หรือจัดให้บริการสาธารณะใดที่ไม่มีกฎหมายรองรับหรือบัญญัติให้สามารถจัดเก็บ