Page 199 - kpi16531
P. 199
1 2 นวัตกรรมการพัฒนารายได้
ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
2. ข้อเสนอแนะในการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการใช้บริการ
สาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
เนื้อหาในส่วนก่อนหน้านี้นำเสนอให้เห็นถึงข้อจำกัดในการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการใช้บริการ
สาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งข้อจำกัดที่เกิดขึ้นเป็นข้อจำกัดทางกฎหมาย และเป็น
ข้อจำกัดจากการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการใช้บริการสาธารณะได้ไม่สมดุลกับต้นทุนค่าใช้จ่าย
ด้วยข้อจำกัดเหล่านี้ส่งผลให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่สามารถพัฒนารายได้จากค่าธรรมเนียม
การใช้บริการสาธารณะได้ และสถานะทางการคลังในหมวดค่าธรรมเนียมก็คงอยู่ในลักษณะที่มี
งบประมาณรายรับน้อยกว่างบประมาณรายจ่าย
ด้วยเหตุนี้ ผู้วิจัยจึงนำเสนอมาตรการในการลดปัญหาและอุปสรรคในการจัดเก็บค่าธรรมเนียม
การใช้บริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พร้อมทั้งมาตรการในการพัฒนาศักยภาพของ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยมีเป้าหมายให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถขับเคลื่อนการจัด
เก็บค่าธรรมเนียมการใช้บริการสาธารณะได้มากยิ่งขึ้น ซึ่งจะช่วยให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
สามารถพัฒนารายได้จากค่าธรรมเนียมการใช้บริการสาธารณะได้มากขึ้น และมีงบประมาณรายรับ
และงบประมาณรายจ่ายในหมวดค่าธรรมเนียมที่สมดุลกันมากขึ้น ดังนั้น การจัดเก็บค่าธรรมเนียมการ
ใช้บริการสาธารณะจึงเป็นแนวทางหนึ่งที่จะช่วยให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถพัฒนารายได้
ด้วยตนเอง พร้อมทั้งเพิ่มความเข้มแข็งทางการคลังและความสามารถในการพึ่งตนเองทางการคลัง
ให้มากยิ่งขึ้น
เนื้อหาส่วนนี้ ผู้วิจัยจะนำเสนอข้อเสนอแนะในการพัฒนาการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการใช้บริการ
สาธารณะให้เป็นแหล่งรายได้สำคัญขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งข้อเสนอแนะแบ่งออกเป็น
3 ด้าน ได้แก่ 1. ข้อเสนอเชิงหลักการ 2. ข้อเสนอบริการสาธารณะที่มีศักยภาพในการพัฒนาเพื่อ
จัดเก็บค่าธรรมเนียมการใช้บริการสาธารณะ และ 3. ข้อเสนอเชิงองค์กร โดยมีรายละเอียด ดังนี้
2. .1 ข้อเสนอเชิงหลักการ
การศึกษาวิจัยนี้มีข้อเสนอในเชิงหลักการเป็นกรอบเบื้องต้นให้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
จัดเก็บค่าธรรมเนียมการใช้บริการสาธารณะ (User Charges) เพื่อเป็นช่องทางหนึ่งในการพัฒนา
รายได้ด้วยตนเอง แต่ทั้งนี้ การจัดเก็บค่าธรรมเนียมการใช้บริการสาธารณะต้องคำนึงถึงประโยชน์
สาธารณะในระดับท้องถิ่นเป็นสำคัญ ประกอบกับ ยังต้องคำนึงถึงความเสมอภาคในการเข้าถึงบริการ
สาธารณะของประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งหมายความว่า ประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมายต้องสามารถ
เข้าถึงบริการสาธารณะได้อย่างเป็นธรรมแม้มีการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการใช้บริการสาธารณะก็ตาม
ทั้งนี้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรตระหนักถึงหัวใจสำคัญของการจัดเก็บค่าธรรมเนียม
การใช้บริการสาธารณะใน 4 ประการ ได้แก่ ประการแรก การจ่ายค่าธรรมเนียมเป็นความสมัครใจ
ส่วนบุคคล ประชาชนสามารถเลือกที่จะใช้บริการและจ่ายค่าธรรมเนียมการใช้บริการสาธารณะได้
ประการที่สอง การจัดเก็บค่าธรรมเนียมก่อให้เกิดความผูกพันระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ในฐานะผู้จัดให้บริการและประชาชนในฐานะผู้รับ/ใช้บริการ ประชาชนมักพิจารณาถึงความคุ้มค่าของ
บริการที่ได้รับเมื่อเปรียบเทียบกับค่าธรรมเนียมที่จ่ายไป หากประชาชนรู้สึกถึงความไม่คุ้มค่าแล้ว