Page 200 - kpi16531
P. 200
นวัตกรรมการพัฒนารายได้ 1 3
ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ย่อมจะแสดงออกให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทราบ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นก็จำเป็นต้อง
ปรับปรุงและพัฒนาการจัดให้บริการเพื่อตอบสนองต่อความพึงพอใจของประชาชนให้ได้มากที่สุด
กล่าวได้ว่า ค่าธรรมเนียมการใช้บริการสาธารณะสะท้อนให้เห็นถึงคุณภาพและปริมาณของการจัดให้
บริการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ค่าธรรมเนียมการใช้บริการสาธารณะจึงเป็นเครื่องมือสำคัญ
ในทางเศรษฐศาสตร์ที่ส่งเสริมประสิทธิภาพในการจัดให้บริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ประการที่สาม การจัดเก็บค่าธรรมเนียมการใช้บริการสาธารณะสะท้อนให้เห็นถึงอำนาจ
(Autonomy) ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอำนาจในการ
ตัดสินใจว่า จะจัดเก็บค่าธรรมเนียมการใช้บริการสาธารณะใดบ้าง ด้วยวิธีการหรือรูปแบบใด จาก
กลุ่มเป้าหมายใด และมีการจัดเก็บค่าธรรมเนียมในอัตราใด และประการที่สี่ การจัดเก็บค่า
ธรรมเนียมการใช้บริการสาธารณะสะท้อนให้เห็นถึงความรับผิดชอบ (Accountability) ในการดูแล
ประชาชนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (สกนธ์ วรัญญูวัฒนา, การอบรมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อน
นวัตกรรมการพัฒนารายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสู่การปฏิบัติ, วันที่ 20 มีนาคม 2558)
นอกจากนี้ ในการดำเนินการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการใช้บริการสาธารณะขององค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่น องค์ประกอบสำคัญที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรพิจารณา ได้แก่
1. ประเภทบริการสาธารณะ 2. อัตราค่าธรรมเนียมการใช้บริการสาธารณะ และ 3. โครงสร้างค่า
ธรรมเนียมการใช้บริการสาธารณะ การศึกษาวิจัยจึงมีข้อเสนอในเชิงหลักการต่อองค์ประกอบทั้งสาม
ดังนี้
1) ข้อเสนอเชิงหลักการเกี่ยวกับประเภทบริการสาธารณะ
แม้ว่า การศึกษาวิจัยนี้เสนอหลักการเบื้องต้นให้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดเก็บ
ค่าธรรมเนียมการใช้บริการสาธารณะเพื่อเป็นช่องทางหนึ่งในการพัฒนารายได้ แต่รายได้กลับมิใช่จุด
ตั้งต้นในการพิจารณาการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการใช้บริการสาธารณะ (องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ต้องการสร้างรายได้จำนวนเท่าไหร่จากการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการใช้บริการสาธารณะ) หากแต่
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละแห่งควรเริ่มต้นด้วยการพิจารณาว่า จะจัดให้บริการสาธารณะ
ประเภทใดแก่ประชาชนในพื้นที่ของตน และมีโอกาสหรือช่องทางในการพัฒนารายได้จากการจัดเก็บ
ค่าธรรมเนียมการใช้บริการสาธารณะประเภทนั้นหรือไม่ เพื่อนำไปสู่การจัดให้บริการสาธารณะ
ประเภทนั้นที่ดียิ่งขึ้น ด้วยเหตุนี้ ผู้วิจัยจึงนำไปสู่การเสนอแนะในเชิงหลักการเกี่ยวกับประเภทบริการ
สาธารณะที่ควรมีการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการใช้บริการสาธารณะ เพื่อเป็นโอกาสหรือช่องทางในการ
พัฒนารายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
1.1) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรจัดเก็บค่าธรรมเนียมการใช้บริการ
สาธารณะจากการจัดให้บริการสาธารณะตามอำนาจหน้าที่
ปัจจุบัน กฎหมายหลายฉบับเปิดช่องทางหรือบัญญัติให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
มีอำนาจในการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการใช้บริการสาธารณะจากการจัดให้บริการสาธารณะที่เป็น
ภารกิจหน้าที่ ดังตารางที่ 28 (การศึกษาวิจัยนี้ไม่ได้กล่าวรวมถึงบริการสาธารณะที่เกี่ยวกับการ
ประทับตรา การออกเครื่องหมาย การให้ใบอนุญาต/ หนังสือรับรอง และงานทะเบียน) ดังนั้น หาก
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดให้บริการสาธารณะใดตามภารกิจหน้าที่ ซึ่งมีกฎหมายบัญญัติให้