Page 203 - kpi16531
P. 203
1 นวัตกรรมการพัฒนารายได้
ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528
มาตรา 114 กรุงเทพมหานครอาจออกข้อบัญญัติเรียกเก็บค่าธรรมเนียมใดๆ จาก
ผู้ซึ่งใช้ประโยชน์จากบริการสาธารณะที่กรุงเทพมหานครจัดให้มีขึ้นได้ เมื่อได้รับความ
เห็นชอบจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 แก้ไข
เพิ่มเติมถึงฉบับที่ 6 พ.ศ. 2552
มาตรา 71 วรรคหนึ่ง องค์การบริหารส่วนตําบลอาจออกข้อบัญญัติองค์การบริหาร
ส่วนตําบลเพื่อใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตําบลได้เท่าที่ไม่ขัดต่อกฎหมาย หรือ
อํานาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตําบล ในการนี้จะกําหนดค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บ
และกําหนดโทษปรับผู้ฝ่าฝืนด้วยก็ได้แต่มิให้กําหนดโทษปรับเกินหนึ่งพันบาท เว้นแต่
จะมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น
1.3) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรคำนึงถึงความเป็นไปได้ในการจัดเก็บ
ค่าธรรมเนียมการใช้บริการสาธารณะ
หากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการใช้บริการสาธารณะ
ใด ควรพิจารณาถึงความเหมาะสมและความเป็นไปได้จากเงื่อนไข 2 ประการ ได้แก่
1.3.1) ประชาชนยินดีจ่ายค่าธรรมเนียมการใช้บริการสาธารณะเพื่อบริการสาธารณะ
นั้น และ
1.3.2) การคำนึงถึงประเด็นทางการเมืองอื่นๆ ได้แก่
< ความเป็นธรรมต่อผู้จ่ายค่าธรรมเนียมการใช้บริการสาธารณะ องค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่นต้องสามารถจำแนกการจัดให้บริการเฉพาะกลุ่มผู้จ่ายค่าธรรมเนียม
ได้ โดยกลุ่มผู้ไม่จ่ายค่าธรรมเนียมย่อมไม่ได้รับการบริการหรือผลประโยชน์
ที่เกิดขึ้นจากการบริการนั้น
< การจัดเก็บค่าธรรมเนียมการใช้บริการสาธารณะในท้องถิ่นใกล้เคียง องค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่นจะสามารถริเริ่มจัดเก็บค่าธรรมเนียมจากการบริการ
สาธารณะประเภทใหม่ๆ ได้ง่ายมากขึ้น หากประชาชนรับรู้ว่า มีการจัดเก็บ
ค่าธรรมเนียมการใช้บริการสาธารณะนั้นในท้องถิ่นใกล้เคียง
< ความรู้สึกนึกคิดของประชาชนในการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการใช้บริการ
สาธารณะจากบริการสาธารณะที่ยังไม่เคยมีการจัดเก็บมาก่อน ประชาชนมัก
ต่อต้านการจัดเก็บค่าธรรมเนียมจากบริการสาธารณะประเภทใหม่ๆ แต่องค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่นควรทำการผลักดันการจัดเก็บค่าธรรมเนียมอย่างต่อเนื่อง
เพื่อให้ประชาชนเกิดการยอมรับ