Page 204 - kpi16531
P. 204
นวัตกรรมการพัฒนารายได้ 1
ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
< ผลกระทบต่อปริมาณความต้องการใช้บริการของประชาชน โดยปกติหากมีการ
จัดเก็บค่าธรรมเนียมการใช้บริการสาธารณะจากบริการสาธารณะประเภทใด
ปริมาณความต้องการใช้บริการสาธารณะประเภทนั้นย่อมลดลง และอาจส่ง
ผลกระทบอื่นๆ ตามมา เช่น การจัดเก็บค่าธรรมเนียมการบริการฝังกลบขยะ
ย่อมส่งผลให้มีการนำขยะไปลักลอบทิ้งตามที่สาธารณะมากขึ้น เป็นต้น
2) ข้อเสนอเชิงหลักการเกี่ยวกับการกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมการใช้บริการ
สาธารณะ
2.1) การกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมการใช้บริการสาธารณะ
การกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมการใช้บริการสาธารณะควรคำนึงถึงความเสมอภาค
ในการเข้าถึงบริการสาธารณะของประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมาย พร้อมทั้งความจำเป็นขั้นพื้นฐานในการ
ใช้บริการสาธารณะนั้นเพื่อการดำรงชีวิตประจำวันของประชาชน ด้วยหลักการดังกล่าว การศึกษาวิจัย
นี้จึงเสนอให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมการใช้บริการสาธารณะออกเป็น
3 รูปแบบ ได้แก่
รูปแบบที่หนึ่ง: การจัดเก็บค่าธรรมเนียมการใช้บริการสาธารณะในอัตราที่เท่ากับ
ต้นทุนค่าใช้จ่ายในการจัดให้บริการ เรียกการจัดเก็บค่าธรรมเนียมในรูปแบบนี้ว่า “การจัดเก็บ
ค่าธรรมเนียมเต็มจำนวนค่าใช้จ่ายในการจัดให้บริการ”
รูปแบบที่สอง: การจัดเก็บค่าธรรมเนียมการใช้บริการสาธารณะในอัตราที่เท่ากับ
ต้นทุนค่าใช้จ่ายในการจัดให้บริการสำหรับประชาชนบางกลุ่ม แต่สำหรับประชาชนบางกลุ่ม เช่น
ผู้สูงอายุ เด็ก และผู้มีรายได้น้อย จัดเก็บในอัตราที่ต่ำกว่าต้นทุนค่าใช้จ่าย เรียกการจัดเก็บ
ค่าธรรมเนียมในรูปแบบนี้ว่า “การจัดเก็บค่าธรรมเนียมเต็มจำนวนค่าใช้จ่ายสำหรับประชาชน
บางกลุ่ม แต่มีอัตราอุดหนุนเฉพาะประชากรบางกลุ่ม”
รูปแบบที่สาม: การจัดเก็บค่าธรรมเนียมการใช้บริการสาธารณะในอัตราที่ต่ำกว่า
ต้นทุนค่าใช้จ่ายในการจัดให้บริการ โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอุดหนุนงบประมาณบางส่วนเพื่อ
ใช้เป็นต้นทุนในการจัดให้บริการสาธารณะเรียกการจัดเก็บค่าธรรมเนียมในรูปแบบนี้ว่า “การจัดเก็บ
ค่าธรรมเนียมในอัตราอุดหนุน”
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรพิจารณาว่า บริการสาธารณะประเภทใดควรจัดเก็บ
ค่าธรรมเนียมในรูปแบบใด โดยการพิจารณาควรอยู่ภายใต้หลักการความเสมอภาคในการเข้าถึง
บริการสาธารณะของประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมาย และความจำเป็นขั้นพื้นฐานในการใช้บริการ
สาธารณะเพื่อการดำรงชีวิตประจำวัน ยกตัวอย่างดังตารางที่ 29