Page 207 - kpi16531
P. 207
1 0 นวัตกรรมการพัฒนารายได้
ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ตารางที่ 30: หลักเกณฑ์การพิจารณาสัดส่วนการอุดหนุนต้นทุนค่าใช้จ่ายในการจัดให้บริการ
สาธารณะ
หลักเกณฑ์ ใช่ ไม่ใช่
การเข้าถึง (ประเภทการบริการสาธารณะ) ของบุคคลหนึ่งสร้างความไม่เป็นธรรมต่อ 25 0
บุคคลอื่นในพื้นที่ที่เข้าไม่ถึงการบริการสาธารณะนั้นใช่หรือไม่
อปท. สามารถจำแนกการให้บริการ (ประเภทการบริการสาธารณะ) ออกเป็นรายหน่วย 20 0
ได้หรือไม่
การจัดเก็บค่าธรรมเนียมการใช้บริการ (ประเภทการบริการสาธารณะ) ชอบด้วยกฎหมาย 15 0
และมีความเป็นไปได้ทางการบริหารจัดการ ใช่หรือไม่
การจัดเก็บค่าธรรมเนียมการใช้บริการ (ประเภทการบริการสาธารณะ) มีผู้ไม่เห็นด้วย 15 0
เพียงเล็กน้อย ใช่หรือไม่
การจัดเก็บค่าธรรมเนียมการใช้บริการ (ประเภทการบริการสาธารณะ) สร้างรายได้ให้แก่ 10 0
อปท.อย่างต่อเนื่อง ใช่หรือไม่
การมีรายได้จากค่าธรรมเนียมการใช้บริการ (ประเภทการบริการสาธารณะ) ช่วยเพิ่ม 10 0
ประสิทธิภาพการจัดให้บริการ ใช่หรือไม่
การจัดเก็บค่าธรรมเนียมการใช้บริการ (ประเภทการบริการสาธารณะ) ส่งผลกระทบ 5 0
เพียงเล็กน้อยต่อภาพลักษณ์ของอปท.
ที่มา: Kevin Neels และ Michael Caggiano, The Entrepreneurial City : Innovation in Finance and
Management for Saint Paul, Santa Monica, Calif: RAND Corporation, October 1984, pp 13-14.
จากหลักเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้น หากตอบ “ใช่” ในหลักเกณฑ์ข้อใด ให้คะแนน
ตามที่ระบุไว้ในแต่ละข้อ หากตอบ “ไม่ใช่” ให้คะแนนเท่ากับ 0 คะแนนรวมที่ได้รับแสดงให้เห็นถึง
สัดส่วนการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการใช้บริการสาธารณะที่ควรจะเป็น ยกตัวอย่างเช่น การบริการ
สาธารณะ “ห้องสมุด” ได้คะแนนเท่ากับ 90 หมายความว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรจัดเก็บ
ค่าธรรมเนียมการใช้บริการห้องสมุดร้อยละ 90 ของต้นทุนค่าใช้จ่ายการผลิตต่อหน่วย และควรให้การ
อุดหนุนต้นทุนค่าใช้จ่ายร้อยละ 10 ของต้นทุนค่าใช้จ่ายการผลิตต่อหน่วย
อย่างไรก็ตาม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรปรับหลักเกณฑ์และค่าคะแนนให้
สอดคล้องเหมาะสมต่อบริบทพื้นที่ ซึ่งอาจเพิ่มเติมหลักเกณฑ์เกี่ยวกับกลุ่มผู้รับบริการ เช่น ผู้ด้อย
โอกาส เด็ก ผู้สูงอายุ และผู้พิการ
3) ข้อเสนอเชิงหลักการเกี่ยวกับการกำหนดโครงสร้างค่าธรรมเนียมการใช้บริการ
สาธารณะ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถกำหนดโครงสร้างค่าธรรมเนียมการใช้บริการสาธารณะ
ได้หลากหลายรูปแบบ ดังนี้
3.1) ค่าธรรมเนียมอัตราเดียว การจัดเก็บค่าธรรมเนียมการใช้บริการสาธารณะในอัตรา
เดียวเหมาะสำหรับบริการสาธารณะที่ไม่สามารถวัดปริมาณการใช้บริการได้อย่างชัดเจน จึงกำหนด
อัตราค่าธรรมเนียมไว้เพียงอัตราเดียว โดยกำหนดจากต้นทุนค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ย