Page 211 - kpi16531
P. 211
1 นวัตกรรมการพัฒนารายได้
ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
2.2) ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอำนาจในการออกข้อบัญญัติการจัดเก็บ
ค่าธรรมเนียมการกำจัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล
ปรับปรุงแก้ไขบทบัญญัติตามมาตรา 20 (4) แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. 2535 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 2 พ.ศ. 2550 ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอำนาจในการ
ออกข้อบัญญัติการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการกำจัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล เพื่อเปิดช่องทางให้องค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถจัดเก็บค่าธรรมเนียมการกำจัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลตามกฎหมาย
ฉบับนี้ได้
พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 2
พ.ศ. 2550
มาตรา 20 เพื่อประโยชน์ในการรักษาความสะอาด และการจัดระเบียบในการเก็บ
ขนและกำจัดสิ่งปฏิกูลมูลฝอย ให้ราชการส่วนท้องถิ่นมีอำนาจออกข้อกำหนดท้องถิ่น ดัง
ต่อไปนี้
(4) กำหนดอัตราค่าธรรมเนียมการให้บริการของราชการส่วนท้องถิ่นในการเก็บ
และขนสิ่งปฏิกูล หรือมูลฝอยไม่เกินอัตราตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
2.3) ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถจัดเก็บค่าธรรมเนียมการเก็บขนขยะ
มูลฝอยด้วยวิธีการต่างๆ
ปรับปรุงแก้ไขบทบัญญัติตามมาตรา 20 (4) แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. 2535 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550 ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถจัดเก็บ
ค่าธรรมเนียมการเก็บขนขยะมูลฝอยด้วยวิธีการอื่นได้นอกเหนือจากการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการใช้
บริการโดยตรง เช่น การใช้ถุงดำที่มีตราสัญลักษณ์ ทั้งนี้ การเลือกใช้วิธีการใด องค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่นต้องคำนึงถึงประโยชน์สาธารณะของท้องถิ่นเป็นสำคัญ
การปรับปรุงแก้ไขข้อกฎหมายนี้เป็นการเปิดช่องทางให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
สามารถเลือกใช้วิธีการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการเก็บขนขยะมูลฝอยได้ตามความเหมาะสม หากเห็นว่า
เป็นวิธีการที่ช่วยจัดเก็บค่าธรรมเนียมได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
3) การจอดยานยนตร์
การศึกษาวิจัยได้นำเสนอกรณีตัวอย่างการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการจอดยานยนตร์
ดังรายละเอียดในหัวข้อ 2.3.5 และเพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถจัดเก็บค่าธรรมเนียม
การจอดยานยนตร์ในพื้นที่ได้มากยิ่งขึ้น ซึ่งปัจจุบันการใช้ยานยนตร์มีปริมาณเพิ่มมากขึ้น การศึกษา
วิจัยนี้จึงเสนอให้มีการปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมข้อกฎหมาย ดังนี้