Page 213 - kpi16531
P. 213
1 นวัตกรรมการพัฒนารายได้
ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
การแลกเปลี่ยนอย่างเป็นธรรมและการจัดให้บริการสาธารณะแก่ประชาชนโดยมิหวังผลกำไร
อย่างไรก็ตาม ดังที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องคำนึงถึงความเสมอภาค
ในการเข้าถึงบริการสาธารณะของประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมาย ดังนั้น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
จึงยังคงต้องจัดให้บริการสาธารณะในประเภทเดียวกันโดยมีคุณภาพในระดับมาตรฐานเช่นเดิม
เพื่อให้ประชาชนทั่วไปเข้าถึงการบริการ
ผู้วิจัยขอนำเสนอกรณีตัวอย่างการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการใช้บริการสาธารณะจาก
การจัดให้บริการที่มีการยกระดับคุณภาพ ได้แก่ สนามกีฬาแบบครบวงจรของเทศบาลนครอุดรธานี
โดยมีรายละเอียด ดังนี้
กรณีตัวอย่างที่ : ค่าธรรมเนียมการใช้บริการสนามกีฬา
เทศบาลนครอุดรธานี
บริบทพื้นที่
เทศบาลนครอุดรธานี มีพื้นที่ 47.70 ตารางกิโลเมตร ประกอบไป
ด้วย 100 ชุมชน มีประชากรตามทะเบียนราษฎร จำนวน 141,953 คน
แบ่งเป็น 49,142 ครัวเรือน และมีความหนาแน่นของประชากร
2,975.95 คนต่อตารางกิโลเมตร (ข้อมูล ณ วันที่ 30 มกราคม 2553)
(เทศบาลนครอุดรธานี, ข้อมูลจากเว็บไซต์ http://udoncity.dungbhumi.com)
สนามกีฬากลางเทศบาลนครอุดรธานี (เวสสุวัณ สเตเดียม)
สนามกีฬากลางเทศบาลนครอุดรธานีเป็นสนามกีฬาแห่งแรกของจังหวัดอุดรธานี ก่อสร้าง
บริเวณถนนนิตโย หรือพื้นที่โรงงานสุรา กรมสรรพสามิตเดิม ซึ่งเป็นพื้นที่ราชพัสดุ มีเนื้อที่ 33 ไร่
แต่เดิมสนามกีฬาแห่งนี้มีชื่อว่าศูนย์กีฬาประชาชนเทศบาลนครอุดรธานี แนวคิดในการก่อสร้างสนาม
กีฬาแห่งนี้เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2552 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ประชาชนในจังหวัดอุดรธานีและจังหวัด
ใกล้เคียงมีพื้นที่ออกกำลังกายที่ทันสมัยและครบวงจร รวมทั้งพัฒนาการกีฬาของนักกีฬาให้มีทักษะ
ความเป็นเลิศและมืออาชีพ นอกจากนี้ ยังต้องการรณรงค์ให้ประชาชนออกกำลังกาย และส่งเสริมให้
เด็กและเยาวชนเล่นกีฬามากขึ้น มีทักษะที่ดีในการเล่นกีฬา มีสุขภาพกายและใจสมบูรณ์แข็งแรง
เรียนรู้การทำงานเป็นทีม และห่างไกลจากสิ่งเสพติด ตลอดจนเมื่อสนามกีฬามีมาตรฐานความพร้อม
ย่อมกลายเป็นสถานที่รองรับการแข่งขันกีฬาประเภทต่างๆ ซึ่งจะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจและการ
ท่องเที่ยวของจังหวัด
สนามกีฬาแห่งนี้เริ่มดำเนินการก่อสร้างในปี พ.ศ. 2553 โดยใช้งบประมาณทั้งหมดในการ
ดำเนินการก่อสร้าง จำนวน 179,640,000 บาท ปัจจุบัน การก่อสร้างเฟสแรกได้ดำเนินการแล้ว
เสร็จ และเริ่มเปิดให้บริการในปี พ.ศ. 2556 สนามกีฬาแห่งนี้กลายเป็นสนามกีฬาที่มีความทันสมัย
และครบวงจร และมีการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบและได้มาตรฐานโดยใช้กลไกการบริหารงาน
แบบภาคเอกชน ภายในสนามกีฬา ประกอบด้วย สนามฟุตบอลหญ้าเทียมและอัฒจันทร์ ซึ่งได้