Page 212 - kpi16531
P. 212
นวัตกรรมการพัฒนารายได้ 1
ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
3.1) ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอำนาจแต่งตั้งเอกชนเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่
จัดเก็บค่าธรรมเนียมการจอดยานยนตร์
เพิ่มเติมบทบัญญัติตามมาตรา 5 และ มาตรา 6 (2) แห่งพระราชบัญญัติจัดระเบียบ
การจอดยานยนตร์ในเขตเทศบาลและสุขาภิบาล พ.ศ.2503 ซึ่งแก้เพิ่มเติมถึงฉบับที่ 2 พ.ศ. 2535
ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอำนาจแต่งตั้งหรือมอบให้เอกชนเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่จัดเก็บ
ค่าธรรมเนียมการจอดยานยนตร์ได้
การเพิ่มเติมข้อกฎหมายเช่นนี้ช่วยให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีทางเลือกในการ
ดำเนินการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการจอดยานยนตร์ให้มีประสิทธิผล หรือสามารถจัดเก็บค่าธรรมเนียม
การจอดยานยนตร์ได้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น
พระราชบัญญัติจัดระเบียบการจอดยานยนตร์ในเขตเทศบาลและสุขาภิบาล
พ.ศ.2503 ซึ่งแก้เพิ่มเติมถึงฉบับที่ 2 พ.ศ. 2535
มาตรา 5 ให้บุคคลต่อไปนี้เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้เพื่อปฏิบัติ
การภายในเขตอำนาจหน้าที่ของตน
(1) นายกเทศมนตรี และประธานกรรมการสุขาภิบาล
(2) พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมการจราจรตามกฎหมายว่าด้วยการ
จราจรทางบก
(3) พนักงานเทศบาลซึ่งคณะเทศมนตรีแต่งตั้ง และพนักงานสุขาภิบาลซึ่งคณะ
กรรมการสุขาภิบาลแต่งตั้ง
มาตรา 6 ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจ ดังต่อไปนี้
(2) เรียกเก็บค่าธรรมเนียมจอดยานยนตร์ในที่จอดยานยนตร์ตามอัตราและวิธีการ
ที่กำหนดไว้ในเทศบัญญัติหรือข้อบังคับสุขาภิบาล แล้วแต่กรณี
4) บริการสาธารณะที่มีการยกระดับคุณภาพการให้บริการ
ปัจจุบันประชาชนบางกลุ่มมีความต้องการใช้หรือพึงพอใจในบริการสาธารณะที่มีคุณภาพดี
กว่ามาตรฐานทั่วไป ซึ่งประชาชนกลุ่มนี้เป็นผู้ที่มีกำลังซื้อและเต็มใจจ่ายค่าธรรมเนียมการใช้บริการ
สาธารณะในอัตราที่สูงขึ้นเพื่อให้เข้าถึงบริการในลักษณะดังกล่าว ดังนั้น เพื่อเป็นทางเลือกให้แก่
ประชาชนกลุ่มนี้ และเพื่อช่วยลดปริมาณความแออัดในการใช้บริการสาธารณะประเภทหนึ่ง องค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่นอาจจัดให้มีบริการสาธารณะที่มีการยกระดับคุณภาพของการให้บริการ และ
ทำการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการใช้บริการสาธารณะนั้นในอัตราที่สูงกว่าปกติทั่วไป เพื่อให้องค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่นมีศักยภาพทางการคลังในการจัดให้บริการ และเพื่อเป็นช่องทางในการ
พัฒนารายได้ แต่ทั้งนี้การจัดเก็บค่าธรรมเนียมการใช้บริการสาธารณะยังคงต้องอยู่ภายใต้หลักการ