Page 210 - kpi16531
P. 210

นวัตกรรมการพัฒนารายได้     1 3
                                                                                 ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น


                 บริการสาธารณะของประชาชนทุกกลุ่ม นอกจากนี้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรอาศัยทุนทาง
                 ธรรมชาติที่มีอยู่ภายในท้องถิ่น เช่น น้ำตก ป่าไม้ น้ำพุร้อน ฯลฯ มาใช้จัดเป็นบริการสาธารณะให้แก่

                 ประชาชน และทำการจัดเก็บค่าธรรมเนียมจากการเข้าใช้บริการดังกล่าว ทั้งนี้ เพื่อเป็นอีกช่องทาง
                 หนึ่งในการพัฒนารายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ขณะเดียวกัน การจัดเก็บค่าธรรมเนียม
                 ประเภทนี้ยังเป็นไปตามหลักการผู้ใช้เป็นผู้จ่าย (User Pays Principle) ซึ่งจะช่วยกระตุ้นจิตสำนึกของ
                 ประชาชนให้รู้จักใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างรู้คุณค่า


                         การศึกษาวิจัยนี้จึงเสนอให้บริการสาธารณะ 5 ประเภท ได้แก่ 1) การบำบัดน้ำเสีย 2) การ
                 เก็บและขนขยะมูลฝอย 3) การจัดระเบียบการจอดยานยนตร์ 4) บริการสาธารณะที่มีการยกระดับ
                 คุณภาพการให้บริการที่ดีขึ้น และ 5) แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ เป็นบริการสาธารณะที่มีศักยภาพ

                 ในการพัฒนาเพื่อจัดเก็บค่าธรรมเนียมการใช้บริการสาธารณะ

                         1) การบำบัดน้ำเสีย


                           การศึกษาวิจัยได้นำเสนอกรณีตัวอย่างการจัดเก็บค่าธรรมเนียมบริการบำบัดน้ำเสียของ
                 เมืองพัทยา ดังรายละเอียดในหัวข้อ 2.3.5 เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเล็งเห็นถึงความสำคัญ
                 ของการบำบัดน้ำเสียในพื้นที่ พร้อมทั้งโอกาสในการพัฒนารายได้จากการจัดเก็บค่าธรรมเนียมบำบัด

                 น้ำเสีย

                         2) การเก็บและขนขยะมูลฝอย

                           การศึกษาวิจัยได้นำเสนอกรณีตัวอย่างการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการบริการเก็บและ

                 ขนขยะมูลฝอยของเทศบาลเมืองตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ ดังรายละเอียดในหัวข้อ 2.3.5 และเพื่อให้
                 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถจัดเก็บค่าธรรมเนียมการเก็บและขนขยะมูลฝอยได้มากยิ่งขึ้น
                 การศึกษาวิจัยนี้จึงเสนอให้มีการปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมข้อกฎหมาย ดังนี้


                           2.1)  แก้ไขนิยามคำว่า “มูลฝอย”ให้หมายความรวมถึง “ขยะในทะเล”

                               เพิ่มเติมนิยามคำว่า “มูลฝอย”ตามบทบัญญัติมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติการ

                 สาธารณสุข พ.ศ. 2535 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 2 พ.ศ. 2550 ให้หมายความรวมถึง “ขยะในทะเล”
                 อย่างชัดเจน เพื่อเป็นการเปิดช่องทางให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งมีพื้นที่รับผิดชอบในน่านน้ำ
                 ทะเลมีอำนาจในการจัดการขยะมูลฝอยในทะเล และสามารถจัดเก็บค่าธรรมเนียมการบริการ
                 เก็บขน และกำจัดขยะมูลฝอยในทะเลได้ต่อไป



                            มาตรา 4 พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 แก้ไขเพิ่มเติมถึง
                       ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2550


                            “มูลฝอย” หมายความว่า เศษกระดาษ เศษผ้า เศษอาหาร เศษสินค้า เศษวัตถุ ถุง
                       พลาสติก ภาชนะที่ใส่อาหาร เถ้า มูลสัตว์ ซากสัตว์ หรือสิ่งอื่นใดที่เก็บกวาดจากถนน
                       ตลาด ที่เลี้ยงสัตว์ หรือที่อื่น และหมายความรวมถึงมูลฝอยติดเชื้อ มูลฝอยที่เป็นพิษหรือ

                       อันตรายจากชุมชน
   205   206   207   208   209   210   211   212   213   214   215