Page 195 - kpi16531
P. 195

1        นวัตกรรมการพัฒนารายได้
                ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น




                    ปกครองส่วนท้องถิ่นทำได้หรือไม่นั้น เห็นว่าในการจัดจ้างบุคคลอื่นมาบริหารจัดการหรือ
                    ดำเนินการกิจการที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะต้องกระทำนั้นอาจแยกได้เป็น
                    สองลักษณะ กล่าวคือ ถ้ากิจการนั้นเป็นภารกิจที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจำต้อง

                    กระทำเพื่ออำนวยความสะดวกหรือเพื่อให้การปฏิบัติการตามอำนาจหน้าที่สามารถ
                    ดำเนินการไปได้โดยสะดวกหรือเป็นระเบียบเรียบร้อย เช่น การดูแลรักษาอาคาร
                    ที่ทำการ การรักษาความปลอดภัยของที่ทำการ หรือการทำความสะอาดสถานที่ทำงาน

                    องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นย่อมจ้างเหมาเอกชนหรือบุคคลใดให้มาดำเนินการให้ได้
                    ตามแนวทางที่กระทรวงมหาดไทยได้เคยวางหลักเกณฑ์ไว้ในหนังสือกระทรวงมหาดไทย
                    ที่ มท 0313.4/ว 1452 ลงวันที่ 27 พฤษภาคม 2541 แต่ในกรณีที่กิจการใดเป็น

                    กิจการอันเป็นหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการบริการประชาชน ย่อมเป็น
                    ภาระหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่จะต้องดำเนินการนั้นเองตามวัตถุประสงค์
                    ของการจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การจะมอบหมายให้เอกชนหรือบุคคลอื่นเป็น
                    ผู้ดำเนินการนั้นแทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ก็ต่อเมื่อมีกฎหมายบัญญัติให้กระทำ

                    ได้ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัดฯ ว่า
                    “มาตรา 49 องค์การบริหารส่วนจังหวัดอาจมอบให้เอกชนกระทำกิจการซึ่งอยู่ในอำนาจ

                    หน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดและเรียกเก็บค่าธรรมเนียม ค่าบริการ หรือ
                    ค่าตอบแทนที่เกี่ยวข้องแทนองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้ แต่ต้องได้รับความเห็นชอบ
                    จากสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและผู้ว่าราชการจังหวัดเสียก่อน”ตามบทบัญญัติ
                    ดังกล่าวจะเห็นได้ว่าเป็นการมอบหมายให้เอกชนไปลงทุนและดำเนินกิจการและเรียก

                    เก็บรายได้แทนองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้ โดยมีเงื่อนไขกำหนดไว้หลายประการ เช่น
                    จะต้องได้รับความเห็นชอบจากสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและผู้ว่าราชการจังหวัด

                    ทั้งในวรรคสามของมาตราดังกล่าวยังกำหนดให้สิทธิในการกระทำกิจการดังกล่าว
                    เป็นสิทธิเฉพาะตัวจะโอนไปไม่ได้

                          นอกจากนั้นมาตรา 47 แห่งพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัดฯ ยังได้

                    บัญญัติให้ในกรณีที่หน้าที่ใดเป็นหน้าที่ที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดพึงจัดทำ แต่องค์การ
                    บริหารส่วนจังหวัดไม่จัดทำ รัฐมนตรีจะสั่งให้ราชการส่วนภูมิภาคหรือราชการส่วนกลาง
                    จัดทำได้ก็แต่เฉพาะเมืองได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีแล้ว ซึ่งแสดงให้เห็นว่า
                    กฎหมายได้ให้ความคุ้มครองแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการที่จะปฏิบัติภารกิจตาม

                    อำนาจหน้าที่ของตนด้วยตนเองไว้อย่างเข็มงวด ทั้งนี้ ตามหลักการที่บัญญัติไว้ใน
                    รัฐธรรมนูญ มาตรา 281 ที่รัฐจะต้องให้ความเป็นอิสระแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

                    ตามหลักแห่งการปกครองตนเองตามเจตนารมณ์ของประชาชนในท้องถิ่น และส่งเสริมให้
                    องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นหน่วยงานหลักในการจัดทำบริการสาธารณะ และมาตรา
                    285 วรรคหนึ่งและวรรคสองที่บัญญัติให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอำนาจหน้าที่
                    โดยทั่วไปในการดูแลและจัดทำบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่น

                    และมีความเป็นอิสระในการกำหนดนโยบายการบริหาร การจัดบริการสาธารณะ
                    การบริหารงานบุคคล การเงิน และการคลัง และมีอำนาจหน้าที่ของตนเองโดยเฉพาะ
   190   191   192   193   194   195   196   197   198   199   200