Page 193 - kpi16531
P. 193
1 นวัตกรรมการพัฒนารายได้
ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
1.3) ข้อจำกัดการให้เอกชนดำเนินการจัดให้บริการสาธารณะ
ในการจัดจ้างบุคคลอื่นมาบริหารจัดการหรือดำเนินการกิจการที่องค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่นจะต้องกระทำ คณะกรรมการกฤษฎีกา แบ่งการพิจารณาออกเป็น 2 ลักษณะ กล่าวคือ
1. ถ้ากิจการนั้นเป็นภารกิจที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจำต้องกระทำเพื่ออำนวย
ความสะดวกหรือเพื่อให้การปฏิบัติการตามอำนาจหน้าที่สามารถดำเนินการไป
ได้โดยสะดวกหรือเป็นระเบียบเรียบร้อย เช่น การดูแลรักษาอาคารที่ทำการ
การรักษาความปลอดภัยของที่ทำการ หรือการทำความสะอาดสถานที่ทำงาน
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นย่อมจ้างเหมาเอกชนหรือบุคคลใดให้มาดำเนินการ
ให้ได้
2. ในกรณีที่กิจการใดเป็นกิจการอันเป็นหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ในการบริการประชาชน ย่อมเป็นภาระหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ที่จะต้องดำเนินการนั้นเองตามวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งองค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่น การจะมอบหมายให้เอกชนหรือบุคคลอื่นเป็นผู้ดำเนินการนั้นแทน
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ก็ต่อเมื่อมีกฎหมายบัญญัติให้กระทำได้
กรณีที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต ดำเนินการจ้างเอกชนให้มาบริหารจัดการ
โรงพยาบาลโดยเอกชนเป็นผู้รับภาระในการบริหารโรงพยาบาลและรับผิดชอบในการรักษาพยาบาล
แก่ประชาชน จัดหาแพทย์ พยาบาล และบุคลากรที่เกี่ยวข้องอื่นมาดำเนินการ คณะกรรมการกฤษฎีกา
พิจารณาตามลักษณะทั้งสองประการดังที่กล่าวมาข้างต้นแล้วมีความเห็นว่า เข้าข่ายตามลักษณะที่ 2
แต่ในกรณีนี้ การดำเนินการดังกล่าวย่อมมีผลเป็นการมอบหมายการปฏิบัติหน้าที่ขององค์การบริหาร
ส่วนจังหวัดภูเก็ตให้เอกชนเป็นผู้รับผิดชอบ โดยมิใช่เป็นการมอบให้เอกชนเป็นผู้ดำเนินการตาม
มาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัดฯ การดำเนินการของโรงพยาบาลจึงเป็น
ไปตามเงื่อนไขของสัญญาที่ทำขึ้นระหว่างองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ตกับบริษัทที่เข้ามาเป็น
คู่สัญญา นอกจากนั้นการที่เอกชนเข้ามาบริหารกิจการย่อมมีวัตถุประสงค์ในการแสวงหากำไร
การดำเนินการเช่นนั้นจึงยากที่จะอยู่ภายใต้การควบคุมของฝ่ายนิติบัญญัติตามระบบการปกครอง
ท้องถิ่นที่กฎหมายกำหนดไว้ จึงไม่อาจกระทำได้ เพราะเป็นการนอกเหนือจากขอบเขตที่กฎหมาย
ให้อำนาจไว้