Page 192 - kpi16531
P. 192

นวัตกรรมการพัฒนารายได้     1
                                                                                 ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น


                 กรณีตัวอย่างที่   : การให้เอกชนจัดเก็บค่าธรรมเนียมแทน



                            บันทึกสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเรื่อง  การให้เอกชนจัดเก็บค่าธรรมเนียม
                       จอดยานยนตร์ในทางหลวงหรือที่สาธารณะแทนเทศบาล




                            คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 1) เห็นว่า พระราชบัญญัติจัดระเบียบการจอด
                       ยานยนตร์ในเขตเทศบาลและสุขาภิบาล พ.ศ.2503 เป็นกฎหมายที่กำหนดอำนาจและ

                       หน้าที่ของเทศบาลเกี่ยวกับการจัดระเบียบการจอดยานยนตร์ไว้เป็นการเฉพาะโดย
                       มาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว กำหนดให้เทศบาลมีอำนาจตราเทศบัญญัติ
                       กำหนดอัตราค่าธรรมเนียมจอดยานยนตร์ และวิธีการเก็บค่าธรรมเนียมจอดยานยนตร์

                       ประกอบกับมาตรา 5 และมาตรา 6 (2)ได้กำหนดบุคคลผู้เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ที่มี
                       อำนาจเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจอดยานยนตร์ไว้แล้ว จึงเป็นกรณีที่กฎหมายกำหนดไว้
                       ชัดเจนว่าผู้ที่มีอำนาจเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจอดยานยนตร์ตามพระราชบัญญัตินี้มีผู้ใด

                       บ้าง และหากมีผู้ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ก็ได้กำหนดบทลงโทษไว้ใน
                       มาตรา 8 ดังนั้น การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจอดยานยนตร์ในกรณีนี้จึงเป็นอำนาจของรัฐ
                       ซึ่งเมื่อมิได้มีบทบัญญัติของกฎหมายใดกำหนดให้เทศบาลสามารถแต่งตั้งหรือมอบหมาย

                       ให้เอกชนเป็นผู้ดำเนินการจัดเก็บค่าธรรมเนียมจอดยานยนตร์แทนเทศบาลได้ เทศบาล
                       จึงไม่อาจมอบอำนาจให้เอกชนใช้อำนาจของรัฐดำเนินการจัดเก็บค่าธรรมเนียมแทน
                       เทศบาลได้


                            ส่วนการที่เทศบาลจะอาศัยอำนาจตามมาตรา 22 และมาตรา 29 วรรคสามแห่ง
                       พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครอง
                       ส่วนท้องถิ่นมอบให้เอกชนจัดเก็บค่าธรรมเนียมจอดยานยนตร์แทนเทศบาลนั้น เห็นว่า

                       แม้มาตรา 22 ซึ่งบัญญัติไว้ในหมวด 2 การกำหนดอำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบการ
                       บริการสาธารณะ โดยมาตรา 22 บัญญัติให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอาจมอบให้
                       เอกชนดำเนินการตามอำนาจและหน้าที่แทนได้ก็ตาม แต่เมื่อพระราชบัญญัติจัดระเบียบ

                       การจอดยานยนตร์ในเขตเทศบาลและสุขาภิบาลฯ ซึ่งเป็นกฎหมายเฉพาะเกี่ยวกับการจัด
                       ระเบียบการจอดยานยนตร์ภายในเขตเทศบาลและสุขาภิบาล ไม่มีบทบัญญัติที่ให้อำนาจ
                       เทศบาลที่จะแต่งตั้งเอกชนเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ได้ ดังนั้น

                       เทศบาลจึงไม่อาจมอบอำนาจและหน้าที่ในการเก็บค่าธรรมเนียมจอดยานยนตร์ให้แก่
                       เอกชน นอกจากนี้ มาตรา 29 วรรคสาม ซึ่งบัญญัติไว้ในหมวด 3 การจัดสรรสัดส่วน
                       ภาษีและอากร ได้บัญญัติให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะมอบให้ส่วนราชการ

                       รัฐวิสาหกิจ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น จัดเก็บภาษีอากร ค่าธรรมเนียม
                       ค่าใบอนุญาต ค่าตอบแทน หรือรายได้อื่นใด เพื่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นก็ได้
                       ซึ่งบทบัญญัติดังกล่าวไม่มีการบัญญัติถึงเอกชนไว้ ดังนั้น จึงเป็นการแสดงให้เห็นชัดเจน
                       ว่า เทศบาลไม่อาจมอบอำนาจและหน้าที่ให้เอกชนจัดเก็บค่าธรรมเนียมจอดยานยนตร์

                       ในเขตเทศบาลหรือสุขาภิบาลแทนเทศบาลได้
   187   188   189   190   191   192   193   194   195   196   197