Page 187 - kpi16531
P. 187
1 0 นวัตกรรมการพัฒนารายได้
ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
1.1) ข้อจำกัดประเภทบริการสาธารณะที่ต้องการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการใช้
บริการสาธารณะ
ที่ผ่านมาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นบางแห่งต้องการจัดให้บริการสาธารณะและ
จัดเก็บค่าธรรมเนียมการใช้บริการสาธารณะบางประเภท แต่ก็ไม่สามารถกระทำได้ เพราะมีการ
ตีความตัวบทกฎหมายว่า การบริการสาธารณะนั้นมิใช่อำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ยกตัวอย่างเช่น
= เคาน์เตอร์เซอร์วิส
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นบางแห่งมีแนวคิดริเริ่มจัดให้บริการสาธารณะ
ประเภทใหม่ๆ และจัดเก็บค่าธรรมเนียมจากการให้บริการนั้น ยกตัวอย่างเช่น การกระทำกิจการ
ตัวแทนบริการชำระค่าสินค้าและบริการ ของเทศบาลเมืองอโยธยา และการจัดตั้ง “ศูนย์ อบต.
แม่ข้าวต้มเซอร์วิส” ขององค์การบริหารส่วนตำบลแม่ข้าวต้ม อย่างไรก็ตาม องค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่นไม่สามารถดำเนินการจัดให้บริการสาธารณะในลักษณะเคาน์เตอร์เซอร์วิสที่จัดเก็บ
ค่าธรรมเนียมการใช้บริการที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่ได้จัดให้บริการได้ ทั้งนี้ เนื่องจากกรม
ส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นมีความเห็นว่า ไม่ใช่อำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามที่
กฎหมายได้บัญญัติไว้ หรือไม่มีกฎหมายใดให้อำนาจและหน้าที่แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการ
จัดให้บริการสาธารณะนั้น
กรณีตัวอย่างที่ : ตัวแทนบริการชำระค่าสินค้าและบริการ
หรือเคาน์เตอร์เซอร์วิส
หนังสือกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ที่ มท 0808.3/680 ลงวันที่ 26
มกราคม 2554 เรื่อง หารือเกี่ยวกับการกระทำกิจการตัวแทนบริการชำระค่าสินค้าและ
บริการ
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นมีความเห็นว่า ไม่มีบทบัญญัติตามพระราชบัญญัติ
เทศบาล พ.ศ.2496 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 13) พ.ศ.2552 มาตรา 50 มาตรา 53
และมาตรา 54 และพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 มาตรา 16 ซึ่งเป็นกฎหมายที่บัญญัติอำนาจและ
หน้าที่ของเทศบาล รวมทั้งกฎหมายอื่นใด ได้บัญญัติให้เทศบาลมีอำนาจและหน้าที่ที่จะ
กระทำการเป็นตัวแทนรับชำระค่าสินค้าและบริการต่างๆ จากบริษัท เคาน์เตอร์เซอร์วิส
จำกัด ได้ ดังนั้น การที่เทศบาลเมืองอโยธยาประสงค์จะจัดทำโครงการเคาน์เตอร์เซอร์วิส
โดยเป็นตัวแทนรับชำระค่าสินค้าและบริการ ตลอดจนการจำหน่ายตั๋วหรือบัตรผ่านเข้า
ชมงานต่างๆ จึงไม่อยู่อำนาจและหน้าที่ของเทศบาล