Page 183 - kpi16531
P. 183

1        นวัตกรรมการพัฒนารายได้
                ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น



               ความเสียหาย ประกอบกับ ยอดการจัดเก็บไม่เป็นไปตามประมาณการ จึงได้เปลี่ยนมาใช้บุคลากร

               ในการจัดเก็บแทนหัวมาตรมาจนถึงปัจจุบัน

                      ในปัจจุบันกรุงเทพมหานครจัดระเบียบและจัดเก็บค่าธรรมเนียมการจอดยานยนตร์ตาม
               ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง การจัดระเบียบการจอดยานยนตร์ พ.ศ. 2536 ออกตามความใน

               พระราชบัญญัติจัดระเบียบการจอดยานยนตร์ในเขตเทศบาลและสุขาภิบาล พ.ศ. 2503 โดยมีถนน
                                                3
               ที่จัดเก็บในปัจจุบันทั้งหมด 66 สาย  สำหรับถนน 65 สาย จัดเก็บตามประกาศกรุงเทพมหานคร
               เรื่องกำหนดที่จอดยานยนตร์ และอัตราค่าธรรมเนียมจอดยานยนตร์ ฉบับที่ 3 ส่วนถนนราชดำริ

               (ถนนสายที่ 66) จัดเก็บตามประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่องกำหนดที่จอดยานยนตร์ และอัตรา
               ค่าธรรมเนียมจอดยานยนตร์ ฉบับที่ 4 และแก้ไขเพิ่มเติมในฉบับที่ 5




               ตารางที่ 23: อัตราค่าธรรมเนียมการจอดยานยนตร์ในถนนสายต่างๆ

                              ประเภท                  ชั่วโมงแรก/บาท  ชั่วโมงต่อไป/บาท     หมายเหตุ
               1. รถจักรยานยนต์                              5               10         เศษของชั่วโมงให้

               2. รถยนต์ขนาดไม่เกิน 4 ล้อ                   10               20         คิดเป็นหนึ่งชั่วโมง
               3. รถยนต์ขนาด 6 ล้อ                          20               30
               4. รถยนต์ขนาด 8 ล้อ                          30               40
               5. รถยนต์ขนาด 10 ล้อ                         40               60
               6. รถยนต์ขนาดเกิน 10 ล้อ                     50               80


               ที่มา : ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่องกำหนดที่จอดยานยนตร์ และอัตราค่าธรรมเนียมจอดยานยนตร์ ฉบับที่ 3


                    2. การจัดเก็บค่าธรรมเนียมการจอดยานยนตร์ในอาคารที่จอดยานยนตร์


                      อาคารที่จอดยานยนตร์ของกรุงเทพมหานคร มี 2 แห่ง ได้แก่ 1) บริเวณตลาดยอด บางลำภู
               เขตพระนคร และ 2) ตลาดสวนมะลิ ถนนเฉลิมเขตร์ 2 เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย

                      2.1  อาคารจอดบริเวณตลาดยอด บางลำภู เขตพระนคร


                          อาคารแห่งนี้เริ่มดำเนินการก่อสร้างในปี พ.ศ. 2531 แล้วเสร็จต้นปี พ.ศ. 2533 โดย
               ใช้งบประมาณก่อสร้าง รวม 41,700,000 บาท อาคารมีทั้งหมด 8 ชั้น สามารถรองรับการจอด
               รถยนต์ได้ 550 คัน และรถจักรยานยนตร์ได้ 99 คัน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546 ได้นำระบบควบคุมการจัด

               เก็บค่าธรรมเนียมจอดยานยนตร์แบบอัตโนมัติมาใช้ ซึ่งในอนาคตกรุงเทพมหานครมีแนวคิดนำระบบ
               Online-Real time มาใช้โดยมีรูปแบบ “บัตรเติมเงิน 1 ใบ ใช้ได้ทุกที่” ควบคู่กับระบบ Self service




                  3   เขตทางถนนราชดำริ เป็นถนนสายที่ 66 แต่การปฏิบัติงานมีลักษณะเป็นแบบลานจอดรถ คือมีทางเข้า สำหรับ
               จ่ายบัตร และทางออก สำหรับการตรวจสอบและจัดเก็บค่าธรรมเนียมและมีการจอดยานยนตร์ในแนวทแยงทั้ง 2 ฝั่ง
               ของลานจอด เปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง
   178   179   180   181   182   183   184   185   186   187   188