Page 180 - kpi16531
P. 180

นวัตกรรมการพัฒนารายได้     1 3
                                                                                 ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น



                       2. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 แก้ไขเพิ่มเติม

                 ถึงฉบับที่ 5 พ.ศ. 2550

                         มาตรา 49  ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
                          (1)  กำหนดนโยบายและบริหารราชการของกรุงเทพมหานครให้เป็นไปตามกฎหมาย

                          (2)  สั่ง อนุญาต อนุมัติเกี่ยวกับราชการของกรุงเทพมหานคร
                          (3)  แต่งตั้งและถอดถอนรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เลขานุการผู้ว่าราชการ
                               กรุงเทพมหานคร ผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และแต่งตั้งและ

                               ถอดถอนผู้ทรงคุณวุฒิเป็นประธานที่ปรึกษา ที่ปรึกษาหรือคณะที่ปรึกษาของผู้ว่า
                               ราชการกรุงเทพมหานครหรือเป็นคณะกรรมการเพื่อปฏิบัติราชการใดๆ
                          (4)  บริหารราชการตามที่คณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวง

                               มหาดไทยมอบหมาย
                          (5)  วางระเบียบเพื่อให้งานของกรุงเทพมหานครเป็นไปโดยเรียบร้อย
                          (6)  รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร

                          (7)  อำนาจหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้และกฎหมายอื่น

                         มาตรา 50  ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการกรุงเทพมหานคร
                 และลูกจ้างกรุงเทพมหานคร และรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของกรุงเทพมหานคร และ

                 ให้มีอำนาจหน้าที่ตามที่กฎหมายอื่นได้กำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของผู้ว่าราชการจังหวัด
                 นายกเทศมนตรี หรือคณะเทศมนตรีแล้วแต่กรณี โดยอนุโลม ทั้งนี้ เว้นแต่พระราชบัญญัตินี้จะได้
                 บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น


                         มาตรา 97 ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครจะตราขึ้นได้โดยความเห็นชอบของสภา
                 กรุงเทพมหานคร ในกรณีดังต่อไปนี้
                          (1)  เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร

                          (2)  เมื่อมีกฎหมายบัญญัติให้กรุงเทพมหานครมีอำนาจตราเป็นข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร
                          (3)  การดำเนินการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร
                          (4)  การคลัง การงบประมาณ การเงิน การทรัพย์สิน การจัดหาผลประโยชน์จากทรัพย์สิน

                               การจ้าง และการพัสดุ
                         ในข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครจะกำหนดโทษผู้ละเมิดข้อบัญญัติไว้ด้วยก็ได้ แต่มิให้กำหนด
                 โทษจำคุกเกินหกเดือน และหรือปรับเกินหนึ่งหมื่นบาท


                       3. กฎกระทรวง พ.ศ. 2535 ออกตามความในพระราชบัญญัติจัดระเบียบการจอด
                 ยานยนตร์ ในเขตเทศบาลและสุขาภิบาล พ.ศ. 2503

                         กฎกระทรวงฉบับนี้กำหนดอัตราค่าธรรมเนียมการจอดยานยนตร์ขั้นสูงสุดไว้ โดยเทศบาล

                 และสุขาภิบาลมีอำนาจออกเทศบัญญัติ/ข้อบังคับสุขาภิบาลกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมได้ไม่เกินอัตรา
                 ที่กำหนดในกฎกระทรวงนี้
   175   176   177   178   179   180   181   182   183   184   185