Page 186 - kpi16531
P. 186
นวัตกรรมการพัฒนารายได้ 1
ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ตารางที่ 26: รายได้จากการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการจอดยานยนตร์ของกรุงเทพมหานคร
หน่วย: บาท
ปี พ.ศ. อาคารบางลำภู อาคารสวนมะลิ ถนน 65 สาย ถนนราชดำริ รวม
2555 22,700,156.00 9,892,810.00 9,838,585.00 5,146,735.00 47,578,286.00
2556 23,787,969.00 9,805,070.00 9,571,880.00 5,753,195.00 48,918,114.00
2557 19,269,911.00 8,295,730.00 6,693,620.00 2,673,470.00 36,932,731.00
ที่มา: สำนักงานกรุงเทพมหานคร
2. ข้อจำกัดในการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการใช้บริการ
สาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
จากการทบทวนสถานการณ์การจัดเก็บค่าธรรมเนียมการใช้บริการสาธารณะขององค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้งจากการศึกษากฎหมายหลายฉบับที่เกี่ยวข้อง การศึกษาสถานการณ์รายได้
ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และกรณีตัวอย่าง ดังเนื้อหาในหัวข้อที่ 2.3 ทำให้ผู้วิจัยค้นพบ
ข้อจำกัดในการดำเนินการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการใช้บริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วน
ท้องถิ่น ซึ่งข้อจำกัดเหล่านี้กลายเป็นสาเหตุสำคัญที่ส่งผลให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่สามารถ
พัฒนารายได้จากการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการใช้บริการสาธารณะได้ ทั้งนี้ ผู้วิจัยจำแนกข้อจำกัด
ในการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการใช้บริการสาธารณะออกเป็น 2 ด้าน ได้แก่ 1. ข้อจำกัดทางกฎหมาย
และ 2. ข้อจำกัดจากการจัดเก็บค่าธรรมเนียมได้ไม่สมดุลกับต้นทุนค่าใช้จ่าย โดยมีรายละเอียด ดังนี้
2. .1 ข้อจำกัดทางกฎหมาย
ผู้วิจัยแบ่งข้อจำกัดทางกฎหมายออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ 1. ข้อจำกัดที่เกิดจากการตีความ
ข้อกฎหมาย และ 2. ข้อจำกัดที่เกิดจากบทบัญญัติของกฎหมาย โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1) ข้อจำกัดที่เกิดจากการตีความข้อกฎหมาย
ในทางปฏิบัติ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือจังหวัดในฐานะผู้กำกับดูแลองค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่น อาจเกิดข้อสงสัยหรือความไม่แน่ใจในการดำเนินการจัดให้บริการสาธารณะและ
การจัดเก็บค่าธรรมเนียมการใช้บริการสาธารณะตามกฎหมาย ในบางกรณีจึงมีการส่งหนังสือหารือ
ไปยังกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นในฐานะผู้กำกับดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อขอ
ความเห็น และในบางกรณีหลังจากที่กรมให้ความเห็นแล้ว ยังทำการส่งข้อหารือต่อไปยัง
คณะกรรมการกฤษฎีกาเพื่อให้ความเห็นต่อข้อสงสัยนั้นอีกครั้งหนึ่ง
การศึกษาวิจัยครั้งนี้ได้รวบรวมข้อหารือที่เกี่ยวข้องกับการจัดให้บริการสาธารณะและการ
จัดเก็บค่าธรรมเนียมการใช้บริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อเป็นกรณีตัวอย่างที่
แสดงให้เห็นถึงบรรทัดฐานและข้อจำกัดในการดำเนินการจัดให้บริการสาธารณะและการจัดเก็บ
ค่าธรรมเนียมการใช้บริการสาธารณะตามบทบัญญัติของกฎหมายในปัจจุบัน โดยผู้วิจัยสามารถสรุป
ข้อจำกัดในการดำเนินการจัดให้บริการสาธารณะและการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการใช้บริการสาธารณะ
จากข้อหารือที่ผ่านมาได้ 4 ประการ ดังนี้