Page 189 - kpi16531
P. 189
1 2 นวัตกรรมการพัฒนารายได้
ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
กรณีตัวอย่างที่ : การบำรุงรักษาสิ่งแวดล้อม
บันทึกสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเรื่อง การออกข้อบัญญัติของ
องค์การบริหารส่วนตำบลเพื่อกำหนดค่าธรรมเนียมเรียกเก็บจากนักท่องเที่ยว
คณะกรรมการกฤษฎีกา ( คณะที่ 1 ) มีความเห็นว่า แม้มาตรา 71 วรรคหนึ่ง
แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 จะบัญญัติให้
องค์การบริหารส่วนตำบลอาจออกข้อบัญญัติเพื่อใช้บังคับในเขตองค์การบริหาร
ส่วนตำบลเท่าที่ไม่ขัดต่อกฎหมายหรืออำนาจหน้าที่ โดยจะกำหนดค่าธรรมเนียมที่จะ
เรียกเก็บได้ก็ตาม แต่ในการที่จะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมนั้น จะต้องเป็นกรณีที่องค์การ
บริหารส่วนตำบลได้จัดบริการอย่างหนึ่งอย่างใดแก่ผู้เสียค่าธรรมเนียม และผู้เสียค่า
ธรรมเนียมได้รับประโยชน์จากบริการนั้นโดยตรง อันเป็นหลักการจัดเก็บค่าธรรมเนียม
ตามกฎหมายต่างๆ ที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน และหลักการนี้ก็ได้นำไปกำหนดอย่าง
ชัดเจนในพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 มาตรา 23 (19) ที่บัญญัติว่าองค์การบริหารส่วน
ตำบลจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมใดๆ จะต้องเป็นกรณีที่เรียกเก็บจากผู้ใช้หรือได้รับ
ประโยชน์จากบริการสาธารณะที่จัดให้มีขึ้น ฉะนั้น การที่องค์การบริหารส่วนตำบล
เกาะช้างและองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะช้างใต้จะอาศัยอำนาจหน้าที่ในการบำรุง
รักษาสิ่งแวดล้อมตามที่พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบลฯ มาตรา
67 (7) หรือพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่น มาตรา 16 (24) ให้อำนาจไว้เพื่อออกข้อบัญญัติกำหนด
ค่าธรรมเนียมเรียกเก็บจากนักท่องเที่ยว โดยอ้างว่า เพื่อเป็นค่าบำรุงรักษาสิ่งแวดล้อม
ในด้านการกำจัดขยะมูลฝอยฯนั้น ย่อมจะเห็นได้ว่า เป็นการขัดต่อหลักการการจัดเก็บ
ค่าธรรมเนียมข้างต้น เพราะนักท่องเที่ยวมิใช่ผู้ได้รับบริการหรือประโยชน์จากการบำรุง
รักษาสิ่งแวดล้อมขององค์การบริหารส่วนตำบลทั้งสองแห่งโดยตรงแต่ประการใด หากแต่
ตามความเป็นจริงประชาชนและผู้ประกอบการให้บริการเกี่ยวกับการท่องเที่ยวที่อยู่ใน
องค์การบริหารส่วนตำบลทั้งสองแห่งเป็นผู้ได้รับประโยชน์จากการบำรุงรักษา
สิ่งแวดล้อมดังกล่าว ทั้งในด้านสุขลักษณะของผู้อยู่อาศัย และประโยชน์จากการส่งเสริม
การท่องเที่ยว อันจะมีผลเป็นการสร้างรายได้ให้แก่องค์การบริหารส่วนตำบลและ
ประชาชนในองค์การบริหารส่วนตำบลมากขึ้นตามไปด้วย นอกจากนี้ การจัดเก็บรายได้
ในลักษณะที่องค์การบริหารส่วนตำบลทั้งสองประสงค์จะดำเนินการนั้น มีลักษณะ
เป็นการเรียกเก็บภาษีจากนักท่องเที่ยว ซึ่งองค์การบริหารส่วนตำบลไม่มีอำนาจกระทำ
ได้ เว้นแต่จะมีกฎหมายให้อำนาจไว้เป็นการเฉพาะเท่านั้น
ด้วยเหตุผลดังกล่าว การที่องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะช้างและองค์การบริหาร
ส่วนตำบลเกาะช้างใต้จะดำเนินการออกข้อบัญญัติกำหนดค่าธรรมเนียมเพื่อเรียกเก็บ
จากนักท่องเที่ยวในลักษณะนี้ จึงไม่อาจกระทำได้