Page 88 - kpi12821
P. 88

แนวทางปรับปรุงกฏหมายเกี่ยวกับการยุบพรรคการเมือง




                   ติดต่อกันหนึ่งปี และ (ค) ไม่มีการเรียกประชุมใหญ่พรรคการเมือง หรือไม่มีการดำเนิน

                   กิจกรรมใดทางการเมืองเป็นระยะเวลาติดต่อกันหนึ่งปี โดยมิได้มีเหตุอันสมควรอันจะ
                   อ้างได้ตามกฎหมาย ทั้งนี้ ตามกฎหมายพรรคการเมือง มาตรา 91 (1) (3) และ (4)
                   โดยลำดับ


                             2.3.2 เหตุแห่งการยุบพรรคการเมือง ได้แก่ เหตุตามกฎหมาย
                   พรรคการเมือง (ก) เหตุที่ไม่ยื่นรายงานการดำเนินกิจการของพรรคการเมืองภายใน
                   กำหนดเวลาโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร ตามมาตรา 42 วรรคสอง และ (ข) การไม่ยื่น
                   รายงานการใช้จ่ายเงินสนับสนุนของพรรคการเมือง หรือยื่นรายงานที่ไม่ถูกต้องตาม

                   ความเป็นจริง หรือใช้จ่ายเงินที่ได้รับสนับสนุนจากกองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมือง
                   โดยไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ตามมาตรา 82 และ (ค) กระทำการฝ่าฝืนข้อห้ามตาม
                   กฎหมาย ทั้งในเรื่องการรับคนต่างด้าวเข้าเป็นสมาชิกหรือปล่อยให้ยุ่งเกี่ยวกับกิจการ

                   ของพรรคตามมาตรา 21 วรรคหนึ่ง การที่พรรคการเมืองเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการเลือกตั้ง
                   และการได้มาซึ่ง ส.ว. ตามมาตรา 43 การที่พรรคการเมืองรับบริจาคโดยรู้ว่าได้มา
                   โดยมิชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 65 และการรับบริจาคจากต่างด้าวตามมาตรา 69
                   ตลอดจนการที่พรรคการเมืองใส่ความว่าบุคคลหรือพรรคการเมืองอื่นกระทำผิด

                   กฎหมายพรรคการเมืองโดยปราศจากมูลความจริงตามมาตรา 104 และ (ง) เหตุอื่นๆ ที่

                   บัญญัติไว้ในกฎหมายเลือกตั้ง ประกอบด้วย การกลั่นแกล้งใส่ความผู้สมัครว่ากระทำผิด
                   กฎหมาย ซึ่งให้ถือว่าเป็นการกระทำที่อาจเป็นภัยต่อความมั่นคง ตามมาตรา 140
                   วรรคสี่ และการเรียกหรือรับผลประโยชน์เพื่อลงสมัครหรือไม่ลงสมัครรับเลือกตั้งตาม

                   มาตรา 144 วรรคสอง

                             ส่วนเหตุยุบพรรคการเมืองเพราะสมาชิกหรือกรรมการบริหาร
                   พรรคการเมืองกระทำการอันเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย

                   การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา หรือระเบียบหรือ
                   ประกาศของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ซึ่งมีผลทำให้การเลือกตั้งมิได้เป็นไปโดยสุจริต
                   และเที่ยงธรรมนั้น แม้เป็นกรณีที่บัญญัติไว้โดยตรงในรัฐธรรมนูญ มาตรา 237 วรรคสอง
                   (ซึ่งโยงมาถึงมาตรา 103 วรรคสองของกฎหมายเลือกตั้ง) ก็ตาม แต่ผู้วิจัยก็เห็นว่า

                   เป็นหลักการที่ไม่สอดคล้องกับหลักนิติธรรมหรือหลักนิติรัฐ และหลักกฎหมายสิทธิ
                   มนุษยชนระหว่างประเทศ จึงจัดไว้ในกลุ่มที่มีปัญหาในเชิงหลักการนี้ด้วย

                             2.3.3 ผลของการยุบพรรคการเมือง ได้แก่ กรณีการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง

                   ทั้งตามมาตรา 237 วรรคสองของรัฐธรรมนูญและมาตรา 103 วรรคสองของกฎหมาย
   83   84   85   86   87   88   89   90   91   92   93