Page 85 - kpi12821
P. 85

ณรงค์เดช  สรุโฆษิต




                    นั้น มิใช่การนำมาใช้บังคับโดยตรงเฉกเช่นกรณีการยกสิทธิเสรีภาพที่รับรองไว้ใน

                    รัฐธรรมนูญหมวด 3 ขึ้นต่อสู้คดีในชั้นศาล ซึ่งบุคคลทุกคนสามารถยกขึ้นกล่าวอ้างได้
                    ทันทีโดยอาศัยมาตรา 28 และแตกต่างจากกรณีของรัฐธรรมนูญชั่วคราว 2549 ที่
                    อธิบายไว้ข้างต้น และที่เคยปรากฏใน (ร่าง) รัฐธรรมนูญ ฉบับรับฟังความคิดเห็น (26
                                 48
                    เมษายน 2550)  ที่บุคคลทุกคนสามารถอ้างหลักกฎหมายสิทธิมนุษยชนในศาลไทยได้
                    โดยตรง ทั้งนี้ เนื่องจากตามรัฐธรรมนูญ 2550 นั้น ศาลไทยจะถือเอาหลักกฎหมายสิทธิ

                    มนุษยชนมาใช้บังคับแก่คดีได้ ก็ต่อเมื่อ (ก) เป็นการเสนอเรื่องหรือฟ้องคดีต่อศาลโดย
                    คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (ข) มีปัญหากระทบต่อสิทธิมนุษยชนตามพันธกรณี
                    ระหว่างประเทศที่ไทยเป็นภาคี และ (ค.1) มีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ

                    (ค.2) ความชอบด้วยกฎหมาย หรือ (ค.3) เมื่อได้รับการร้องขอจากผู้เสียหายและเป็น
                    กรณีที่เห็นสมควรเพื่อแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนเป็นส่วนร่วม 49


                               ดังนั้น หลักกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ
                    การยุบพรรคการเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลักกฎหมายตามกติการะหว่างประเทศว่า
                    ด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and
                    Political Rights - ICCPR) ที่มีผลผูกพันรัฐไทยในฐานะรัฐภาคี  จึงเป็นที่มาของ
                                                                            50
                    กฎหมาย (Sources of Law) ประการหนึ่ง ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญอาจนำมาใช้ประกอบ

                    การพิจารณาวินิจฉัยความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของเหตุยุบพรรคการเมือง (Abstract
                    Review) และประกอบการตีความและปรับใช้ตัวบทกฎหมายในการพิจารณาสั่ง
                    ยุบพรรคการเมืองแต่ละรายได้  ทั้งนี้ เมื่อเป็นไปตามเงื่อนไขในข้อ (ก) (ข) และ (ค.1)
                                              51
                       48   (ร่าง) รัฐธรรมนูญ ฉบับรับฟังความคิดเห็น (26 เมษายน 2550), ม. 4 “ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ
                    เสรีภาพและความเสมอภาคของบุคคลทั้งที่บัญญัติไว้ตามรัฐธรรมนูญนี้ตามประเพณีการปกครองประเทศไทยใน
                    ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขและตามพันธกรณีระหว่างประเทศที่ประเทศไทยมีอยู่
                    ย่อมได้รับความคุ้มครอง”  ซึ่งข้อความที่ขีดเส้นใต้นี้ ถูกตัดทิ้งทั้งหมด โปรดเทียบ รัฐธรรมนูญ 2550, ม. 4.
                       49   กรณีศาลปกครอง ต้องมี (ก) (ข) และ (ค.1) หรือ (ค.2) ส่วนกรณีศาลยุติธรรม ต้องมี (ก) (ข) และ (ค.3)
                       50   รัฐไทยเข้าเป็นภาคีโดยการภาคยานุวัติ (Accession) เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2539 และมีผลใช้บังคับในวัน
                    ที่ 30 มกราคม 2540 นอกจากนี้ ยังมีสนธิสัญญาระหว่างประเทศอื่น ๆ ที่ไทยเป็นภาคีและมีการรับรองเสรีภาพ
                    ในการรวมกลุ่ม อาทิ ข้อ 7 (c) แห่งอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ (Convention
                    on the Elimination of All Forms of Discrimination against Women - CEDAW) ข้อ 15 แห่งอนุสัญญาว่า
                    ด้วยสิทธิเด็ก (Convention on the Rights of the Child - CRC). โปรดดู เว็บไซต์
                    คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ [www.nhrc.or.th] <http://www.nhrc.or.th/menu_content.php?
                    doc_id=29#3>
                       51   โปรดดู บทสรุปเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญในการวินิจฉัยกรณีที่บทบัญญัติแห่งกฎหมาย
                    ละเมิดสิทธิมนุษยชน ซึ่งรองศาสตราจารย์ ดร. บรรเจิด สิงคะเนติ จำแนกออกเป็น 3 แนวทางได้ใน “การตรวจสอบ
                    ความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่กระทบต่อสิทธิมนุษยชน”, วารสารนิติศาสตร์, ปีที่ 39
                    ฉบับที่ 1 (มีนาคม 2553) น. 54 – 55.
   80   81   82   83   84   85   86   87   88   89   90