Page 82 - kpi12821
P. 82
แนวทางปรับปรุงกฏหมายเกี่ยวกับการยุบพรรคการเมือง
นอกจากนี้ แม้ว่ารัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 216 วรรคห้า ได้บัญญัติรับรอง
สถานะของคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ “ให้เป็นเด็ดขาด มีผลผูกพันรัฐสภา คณะ
รัฐมนตรี ศาล และองค์กรอื่นของรัฐ” ก็ตาม แต่เมื่อพิจารณาถึงลักษณะเฉพาะของ
ระบบกฎหมายไทยที่มิใช่สกุลกฎหมายคอมมอนลอว์ (Common Law System) อันมี
หลักบรรทัดฐานคำพิพากษา (Doctrine of Precedent / Stare Decisis) ให้ศาล
เดียวกันที่กำลังพิจารณาพิพากษาคดีหลังซึ่งมีข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญเหมือนกัน
ต้องเดินตามแนวบรรทัดฐานที่ศาลนั้นเคยวางไว้ในคดีก่อน และข้อเท็จจริงที่ว่า ไม่มี
ศาลสูงสุดของประเทศใดในโลก แม้แต่ในสกุลคอมมอนลอว์ ผูกพันอย่างเคร่งครัดให้ต้อง
38
วินิจฉัยตามบรรทัดฐานที่ศาลนั้นเคยวางไว้ ประกอบกับศาลรัฐธรรมนูญไทยในอดีต
39
ก็เคยวินิจฉัยกลับแนวบรรทัดฐานเดิมของตนหลายคดี ดังนั้น ในทางทฤษฎี จึงต้อง
ถือว่าศาลรัฐธรรมนูญไทยไม่ผูกพันให้ต้องเดินตามแนวการวินิจฉัยคดีของตนเอง 40
อนึ่ง แม้ว่าศาลรัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญ 2550 เคยอาศัยเหตุยุบพรรค
การเมืองที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.
38 ศาลสูงสุดของอังกฤษเดิมคือ House of Lords นั้น เคยประกาศใน Practice Statement ในปี ค.ศ.
0 1966 ว่า “ในกรณีที่แนวบรรทัดฐานนำมาซึ่งความอยุติธรรมในการพิพากษาคดีหนึ่งคดีใด หรือเป็นการฉุดรั้ง
พัฒนาการที่เหมาะสมของกฎหมายอย่างไร้ซึ่งเหตุผลที่ชอบธรรม ศาลก็พร้อมที่จะผลักตนเองออกจากแนว
บรรทัดฐานในคดีก่อน หากเห็นว่าเป็นการถูกต้องที่จะทำเช่นนั้น” โปรดดู Bradley and Ewing, Constitutional
and Administrative Law, (London: Longman, 14 edition, 2007), น. 383–384; ศาลสูงสุดแห่ง
สหรัฐอเมริกาก็เคยวินิจฉัยกลับแนวบรรทัดฐานเดิมหลายสิบคดี เช่น หลักการแบ่งแยกอย่างเท่าเทียม (Separate
but Equal) ที่ศาลวางไว้ในคดี Plessy v. Ferguson [163 U.S. 537 (1896)] ถูกกลับ (Overrule) โดย Brown
v. Board of Education of Topeka [347 U.S. 483 (1954)] โดยศาลสูงสุดเคยอธิบายความผูกพันต่อหลัก
บรรทัดฐานคำพิพากษา (Stare Decisis) ในคดี Planned Parenthood v. Casey ว่า “The obligation to
follow precedent begins with necessity, and a contrary necessity marks its outer limit.” [505
U.S. 833(1992)] น. 854; ผู้สนใจเกี่ยวกับหลักบรรทัดฐานคำพิพากษาในศาลสูงสุดชุดปัจจุบัน โปรดดู Tom
Hardy, “Has Mighty Casey Struck out?: Societal Reliance and the Supreme Court’s Modern Stare
Decisis Analysis,” Hastings Constitutional Law Quarterly (Vol. 34 Summer 2007) น. 591 – 622.
39 เช่น คดีเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ขององค์กรตามรัฐธรรมนูญ โปรดเทียบคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่
2/2541 กับคำวินิจฉัยที่ 58-62/2543 หรือเทียบคำวินิจฉัยที่ 6/2542 ที่ 7/2542 และที่ 8/2542 กับคำวินิจฉัยที่
6/2543 เป็นต้น ซึ่งรัฐธรรมนูญ 2540 มาตรา 268 ก็บัญญัติเนื้อความไว้เหมือนกันกับมาตรา 216 วรรคห้าของ
รัฐธรรมนูญ 2550; ผู้สนใจบทวิเคราะห์เกี่ยวกับศาลรัฐธรรมนูญไทย โปรดดู วรเจตน์ ภาคีรัตน์, รายงานวิจัยฉบับ
สมบูรณ์ เรื่อง การเปลี่ยนแปลงแนวคำวินิจฉัยและผลผูกพันของคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ: ศึกษากรณี
ศาลสูงสุดของสหรัฐอเมริกาและศาลรัฐธรรมนูญแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน, (กรุงเทพฯ: มิสเตอร์ก๊อปปี้,
2550)
40 แต่ทั้งนี้ การจะเปลี่ยนแนววินิจฉัยกลับไปกลับมาอยู่บ่อยครั้ง ก็จะกลับกลายเป็นการไม่เคารพหลักนิติรัฐ
หรือนิติธรรมที่มีหลักการพื้นฐานข้อหนึ่งคือ หลักความมั่นคงแน่นอนของกฎหมาย (Legal Certainty)