Page 78 - kpi12821
P. 78
แนวทางปรับปรุงกฏหมายเกี่ยวกับการยุบพรรคการเมือง
ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยสั่งให้ยุบพรรคไทยรักไทยเป็นต้นมา ประกอบกับการที่
รัฐธรรมนูญ 2550 มีเนื้อหาเกี่ยวกับการยุบพรรคการเมืองเพราะกรรมการบริหารพรรค
รู้เห็นเป็นใจ หรือปล่อยปละละเลยให้ผู้สมัคร ส.ส. ของพรรคการกระทำผิดกฎหมาย
เลือกตั้ง และต่อมาได้นำไปสู่การยุบพรรคการเมืองใหญ่ 3 พรรคคือ พรรคพลัง
ประชาชน พรรคชาติไทย และพรรคมัชฌิมาธิปไตย ส่งผลให้มีการเปลี่ยนขั้วทาง
การเมือง โดยพรรคประชาธิปัตย์พลิกจากการเป็นพรรคฝ่ายค้าน กลายเป็นรัฐบาล
ร่วมกันกับพรรคชาติไทยพัฒนาซึ่งสืบทอดต่อมาจากพรรคชาติไทย พรรคภูมิใจไทยซึ่ง
เป็นส่วนหนึ่งที่แตกออกมาจากพรรคพลังประชาชน และพรรคเพื่อแผ่นดิน ก็ทำให้
ประเด็นการยุบพรรคการเมืองกลายเป็นจุดสนใจ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งคดียุบพรรค
ประชาธิปัตย์ที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญอยู่ ณ ขณะนี้ กลายเป็น
30
ปัจจัยกำหนดชะตาอนาคตการเมืองไทย เพราะหากพรรคประชาธิปัตย์ถูกยุบไป อาจมี
การเปลี่ยนขั้วทางการเมืองอีกครั้งก็เป็นได้ 31
ด้วยเหตุนี้ พรรคการเมืองไทยทั้งสองขั้วคือ พรรคเพื่อไทย และพรรค
ประชาธิปัตย์ ต่างก็พยายามหาเงื่อนแง่ทางกฎหมายที่จะใช้จัดการกับอีกขั้วหนึ่ง กล่าว
ให้ชัดก็คือ มุ่งหมายใช้การยุบพรรคการเมืองเป็นเครื่องมือกำจัดศัตรูคู่แข่งทางการเมือง
32
นั่นเอง ดังเช่นที่คณะกรรมการสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูปการเมืองและศึกษาการแก้ไข
รัฐธรรมนูญ ได้วิเคราะห์ไว้ในส่วนที่เกี่ยวกับการยุบพรรคการเมืองตามรัฐธรรมนูญ
มาตรา 237 วรรคสองตอนหนึ่งว่า “อาจเกิดกรณีของการกลั่นแกล้งกันทางการเมือง
เพื่อให้พรรคการเมืองฝ่ายตรงข้ามได้รับโทษถึงขั้นยุบพรรคและเพิกถอนสิทธิของ
หัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารพรรค เช่น การจ้างวานบุคคลซึ่งเป็นสมาชิกของ
30 ในปัจจุบัน พรรคประชาธิปัตย์ถูกนายทะเบียนโดยความเห็นชอบของ กกต. ร้องให้ยุบพรรค ด้วยสองเหตุ
แยกเป็นสองคดี คดีแรก ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดเกี่ยวกับการใช้จ่ายเงินสนับสนุนที่ได้รับจากกองทุนเพื่อการ
พัฒนาพรรคการเมืองตามมาตรา 62 ประกอบมาตรา 65 (5) ตามกฎหมายพรรคการเมือง 2541 (โปรดเทียบ
มาตรา 82 ประกอบมาตรา 93 ตามกฎหมายพรรคการเมือง 2550) และคดีที่สอง ถูกอัยการกล่าวหาว่ามีการรับ
เงินบริจาค 258 ล้านโดยรู้อยู่แล้วว่าได้มาโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ตามมาตรา 52 และมาตรา 53 ประกอบมาตรา
66 (4) ซึ่งดำเนินการตามมาตรา 67 ของกฎหมายพรรคการเมือง 2541 (โปรดเทียบ มาตรา 65 ประกอบมาตรา
94 (5) และการดำเนินการตามมาตรา 95 ของกฎหมายพรรคการเมือง 2550)
31 โปรดเทียบ คณะกรรมการสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูปการเมืองและศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ,
บทวิเคราะห์เปรียบเทียบข้อดี ข้อเสียของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 และ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550, (ม.ป.ท., ม.ป.ป.) น. 4.
32 เช่น พาดหัวข่าว “‘ชวน’ฮึ่ม! เพื่อไทยแพร่คลิปฉาวฟ้องยุบพรรคได้’ เทพไท ’จี้ไอ้ตู่หุบปากท้าเปิดคลิป
ภาคสอง” “เทพไท”ขู่ เพื่อไทย บีบ ส.ส. ถอนชื่อจาก กมธ. สภาผิดถึงยุบพรรค” “เทพไทขู่ พท. ถ้าเกี่ยวข้องมือ
ยิง M 79 โทษถึงขั้นยุบพรรค” ฯลฯ