Page 74 - kpi12821
P. 74
แนวทางปรับปรุงกฏหมายเกี่ยวกับการยุบพรรคการเมือง
หรือมาจากแกนนำพรรคเพียงไม่กี่คน และที่ตลกร้ายกว่านั้นก็คือ มาจากหัวหน้าเงา
กรรมการเงา (Shadow leader/director) เฉกเช่นที่คนไทยคุ้นเคยกันดีในนาม
“นอมินี” 19
แม้ว่ากฎหมายพรรคการเมืองไทยฉบับปัจจุบันได้กำหนดมาตรการหลาย
20
อย่างเพื่อสร้างความเป็นประชาธิปไตยภายในพรรคการเมือง เพื่อให้พรรคการเมือง
ไทยพัฒนาไปสู่การเป็นสถาบันทางการเมืองดังมีลักษณะข้างต้น แต่ความเป็นจริงที่รับรู้
กันเป็นการทั่วไปก็คือ พรรคการเมืองไทยส่วนใหญ่ยังคงห่างไกลกับคำว่า “สถาบัน”
ยิ่งนัก เนื่องจากการประชุมใหญ่ของพรรคการเมืองหรือการประชุมคณะกรรมการ
บริหารพรรคการเมืองเป็นเพียงหนึ่งในขั้นตอนดำเนินการตามแบบพิธีที่กฎหมาย
กำหนดไว้เท่านั้น หาได้มีผลเป็นการตัดสินใจโดยกรรมการบริหารพรรคหรือมวลหมู่
สมาชิกพรรคโดยอิสระแต่อย่างใดไม่ หากแต่เป็นการลงมติเลือกหรือวินิจฉัยตาม
“โพย” หรือ “ใบสั่ง” ที่ผู้มีอำนาจครอบงำพรรคตัวจริงสั่งการมาเท่านั้น
แม้กระนั้นก็ตาม หากพิจารณาสภาพข้อเท็จจริงในการถือกำเนิดขึ้นของ
พรรคการเมืองหนึ่งซึ่งเริ่มมาจากเจตนารมณ์เพื่อสนับสนุนผู้นำทางการเมืองคือ นายควง
21
อภัยวงศ์ ของพรรคประชาธิปัตย์ และพัฒนาการต่อๆ มาจนกลายเป็นสถาบันทาง
การเมืองแล้ว เห็นว่า พรรคการเมืองต่างๆ ไม่ว่าจะมีจุดกำเนิดอย่างไร และไม่ว่า
22
สภาพข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการบริหารงานของพรรคการเมืองนั้นๆ จะเป็นเช่นไร ก็ล้วน
แล้วแต่มีโอกาสที่จะพัฒนาไปสู่สภาวะการเป็น “สถาบัน” ได้ หากสามารถดำรงอยู่ได้
อย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลาที่ยาวนานพอสมควรที่จะให้เกิดการพัฒนาตนเอง
23
ซึ่งแน่นอนต้องอาศัยปัจจัยหลายอย่างทั้งปัจจัยภายในและภายนอก หนึ่งในนั้นก็คือ
19 ผู้วิจัยเห็นว่าเงื่อนไขชี้ขาดการเป็นสถาบันนั้นได้แก่ การแยก “ตัวบุคคล” ออกจาก “องค์กร”ส่วนการ
วิเคราะห์ในเงื่อนไขอื่นๆ เช่น ความต่อเนื่องถาวร ความเป็นอิสระ ฯลฯ โปรดดู เกียรติฟ้า เลาหะพรสวรรค์,
พรรคการเมืองไทยในกระบวนการพัฒนาสู่ความเป็นสถาบันทางการเมือง : ศึกษากรณีพรรคประชาธิปัตย์
วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541 ซึ่งได้วิเคราะห์ความเป็นสถาบันของ
พรรคการเมือง โดยอาศัยกรอบความคิดของ Samuel P. Huntington ไว้อย่างน่าสนใจ
20 โปรดดู พ.ร.ป. พรรคการเมือง 2550, ม. 27 – 33; และโปรดดู วรานนท์ วิเศษศิริ, หลักประชาธิปไตย
ภายในพรรคการเมืองกับระบบพรรคการเมืองไทย, วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต, คณะนิติศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2551.
21 กนก วงศ์ตระหง่าน, เรื่องเดิม, น. 61 – 63.
22 แต่ทั้งนี้ โปรดดู เกียรติฟ้า เลาหะพรสวรรค์, เรื่องเดิม, น. 175 – 183; ซึ่งเห็นว่า “ระดับความเป็น
สถาบันทางการเมืองของพรรคประชาธิปัตย์สูงกว่าเมื่อเทียบกับเดิมของพรรคประชาธิปัตย์เองและเมื่อเทียบกับ
พรรคการเมืองอื่นแต่ยังมิใช่สถาบันทางการเมืองอย่างถาวร” โปรดดู น. 179.
23 กนก วงศ์ตระหง่าน, เรื่องเดิม, น. 339.