Page 69 - kpi12821
P. 69

ณรงค์เดช  สรุโฆษิต




                               อนึ่ง ระดับพัฒนาการสูงสุดของความหลากหลายทางการเมืองดังกล่าวจะ

                    ปรากฏในรูปการรวมกลุ่มกันของพลเมืองที่มีเจตจำนงทางการเมืองในทิศทางเดียวกัน
                    เพื่อสร้างและร่วมกันแสดงออกซึ่งเจตจำนงดังกล่าว ด้วยการเข้าสู่อำนาจรัฐเพื่อทำให้
                    เจตจำนงที่วางไว้บรรลุผล กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ การรวมกลุ่มในรูปพรรคการเมือง
                                                                                            3
                    นั่นเอง พรรคการเมืองจึงเป็นพื้นฐานสำคัญที่ประกันความหลากหลายทางการเมือง
                    ดังเช่นที่ศาลสิทธิมนุษยชนแห่งยุโรปกล่าวย้ำไว้ในคำวินิจฉัยหนึ่งว่า “...พรรคการเมือง

                    มีบทบาทสำคัญยิ่งในการธำรงไว้ซึ่งความหลากหลายและการทำงานของระบอบ
                                                 4
                    ประชาธิปไตยอย่างเหมาะสม”  ดังนั้น การยุบพรรคการเมืองจึงเท่ากับเป็นการ
                    ลดทอนความหลากหลายทางการเมืองโดยตรง

                               จากสถิติการยุบพรรคการเมืองของไทยที่ระบุไว้ในบทที่ 1 พบว่า สาเหตุ
                    หลักของการยุบพรรคมาจากการที่พรรคการเมืองไม่สามารถจัดหาสมาชิกพรรคได้ครบ

                    5,000 คนและมีสาขาครบทั้ง 4 ภาค ภายในกำหนดเวลา 180 วัน (ตามกฎหมายเดิม)
                    หรือภายใน 1 ปี (ตามกฎหมายปัจจุบัน) นับแต่วันที่นายทะเบียนพรรคการเมืองตอบรับ
                    การจดแจ้งจัดตั้งพรรคการเมือง ซึ่งพรรคการเมืองเหล่านั้นล้วนแล้วแต่เป็น

                                           5
                    พรรคการเมืองขนาดเล็ก  และส่วนใหญ่มีเจตนารมณ์ทางการเมืองหรือนโยบาย
                    เฉพาะเรื่องเฉพาะด้าน


                       3   Nancy L. Rosenblum, “Banning Parties: Religious and Ethnic Partisanship in Multicultural
                    Democracies,” Law & Ethics Human Rights, (Vol. 17 January, 2007) น. 1; ผู้สนใจคำอธิบายความ
                    เชื่อมโยงของพรรคการเมืองกับการรักษาความหลากหลายในสังคม โปรดดู  Giovanni Sartori, Parties and
                    Party System: A Framework for Analysis, (Cambridge: Cambridge University Press, 1976), น. 13
                    – 18; “การมีพรรคการเมืองที่หลากหลายเป็นอิสระจากรัฐและแข่งขันกันเองเป็นความหมายอันดับแรกของความ
                    หลากหลายในสังคมประชาธิปไตย” โปรดดู Eckart Klein และ Thomas Giegerich, “The Parliamentary
                    Democracy,”ใน Ulrich Karpen (ed.), The Constitution of the Federal Republic of Germany,
                    (Baden-Baden: Nomos Verlagsge sell schaft, 1988), น. 146.

                       4   Refah Partisi (the Welfare Party) et al. v. Turkey [GC] (13 February 2003) อ้างถึงใน Carlos
                    Vidal Prado, “Spain,” ใน Markus Thiel (ed.), The ‘Militant Democracy’ Principle in Modern
                    Democracies, (Surrey: Ashgate Publishing Limited, 2009) น. 253.

                       5   ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากความเชื่อที่ว่า “พรรคใหญ่ดีกว่าพรรคเล็ก” และ “ระบบทวิพรรคดีกว่าระบบ
                    พหุพรรค”โปรดดู รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์, เศรษฐศาสตร์รัฐธรรมนูญ เล่ม 3: บทวิเคราะห์รัฐธรรมนูญแห่ง
                    ราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540, (กรุงเทพฯ: มติชน, 2547) น. 31 – 36 และบทอื่นๆ ซึ่งวิเคราะห์ “ตลาด
                    การเมืองไทย” โดยอาศัยหลักเศรษฐศาสตร์ไว้อย่างน่าสนใจยิ่ง; อย่างไรก็ดี มีอีกความเห็นหนึ่ง มองว่า พรรคการ
                    เมืองเล็กๆ เหล่านี้ ส่วนใหญ่มิใช่พรรคการเมืองอย่างแท้จริง เพราะมิได้ดำเนินกิจกรรมทางการเมืองใดๆ อย่างเป็น
                    ชิ้นเป็นอัน หรือไม่ก็จัดตั้งขึ้นเพื่ออาศัยเป็นช่องทางหารายได้เข้ากระเป๋าผู้บริหารพรรคบางคนจากเงินสนับสนุน
                    ของกองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมือง ดังนั้น การยุบพรรคการเมืองจำพวกนี้ หาได้กระทบต่อความ
                    หลากหลายทางการเมืองแต่อย่างใด
   64   65   66   67   68   69   70   71   72   73   74