Page 73 - kpi12821
P. 73

ณรงค์เดช  สรุโฆษิต




                               ตัวอย่างพรรคการเมืองขนาดเล็กซึ่งสะท้อนให้เห็นได้ชัดถึงการทำลาย

                    ตัวเชื่อมระหว่างรัฐกับประชาชน ก็คือ พรรคถิ่นไทย ซึ่งมีความตั้งใจจริงที่จะดำเนินการ
                    ในฐานะพรรคการเมือง แต่ก็ต้องถูกยุบไปเพราะการเข้าใจผิดเกี่ยวกับแบบฟอร์มการยื่น
                    รายงานการดำเนินกิจการพรรคการเมืองทำให้ยื่นรายงานที่ถูกต้องล่าช้าไป 48 วัน 15
                    ส่วนการทำลายตัวเชื่อมที่เป็นพรรคการเมืองขนาดใหญ่ก็เช่น พรรคพลังประชาชน
                                                  16
                    พรรคชาติไทย พรรคมัชฌิมาธิปไตย  และล่าสุดที่คดีกำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาของ
                    ศาลรัฐธรรมนูญอยู่ ณ ขณะนี้ก็คือ พรรคประชาธิปัตย์

                          1.4  การยุบพรรคการเมืองเป็นการทำลายโอกาสที่

                             พรรคการเมืองไทยจะพัฒนาไปสู่การเป็นสถาบันใน
                             ระบบการเมือง


                               ในประเทศประชาธิปไตยที่ระบบพรรคการเมืองเข้มแข็ง พรรคการเมือง
                    ส่วนใหญ่จะเป็นสถาบันในระบบการเมืองที่แยกออกจากตัวบุคคลผู้เป็นแกนนำของ

                    พรรคการเมือง พรรคการเมืองมิใช่ทรัพย์สินของนักการเมืองคนใดคนหนึ่ง ครอบครัวใด
                                                   17
                    ครอบครัวหนึ่ง หรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง  ทั้งนี้ ไม่ว่าการถือกำเนิดขึ้นของพรรคการเมือง
                                                              18
                    นั้นๆ จะเริ่มมาจากวัตถุประสงค์หรือเหตุปัจจัยใด  จะเริ่มมาจากคนจำนวนน้อยหรือ     1
                    คนจำนวนมาก หรือมาจากกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายหรือไม่ ไม่สำคัญ ข้อสำคัญ
                    คือว่า พรรคการเมืองต้องพัฒนาไปสู่จุดมีโครงสร้างและระบบการบริหารงานภายในที่

                    ประกันได้ว่า การเข้าสู่ตำแหน่งและพ้นจากตำแหน่งของผู้บริหารพรรคการเมืองก็ดี การ
                    วินิจฉัยกำหนดนโยบาย ทิศทาง และโครงการของพรรคการเมืองก็ดี การตัดสินใจ
                    ดำเนินกิจการภายในของพรรคหรือดำเนินกิจกรรมทางการเมืองต่อสาธารณะของพรรค

                    ก็ดี ต้องมาจากความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมตัดสินใจของบรรดาสมาชิกทั้งหลายของ
                    พรรคการเมืองนั้น หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง การบริหารจัดการภายในพรรคเป็นไปตามหลัก
                    ประชาธิปไตย (Internal Democracy) มิใช่มาจากหัวหน้าพรรคการเมืองแต่โดยลำพัง

                       15   ศร. ที่ 1/2545 ลงวันที่ 10 มกราคม 2545 [รจ. ล. 119 ต. 90ก (16 กันยายน 2545) น. 1 – 158]

                       16   คดีพรรคมัชฌิมาธิปไตย – ศร. ที่ 18/2551 ลงวันที่ 2 ธันวาคม 2551 [รจ. ล. 126 ต.16ก (19 มีนาคม
                    2552) น. 1 – 78]; คดีพรรคชาติไทย – ศร. ที่ 19/2551 ลงวันที่ 2 ธันวาคม 2551 [รจ. ล. 126 ต.16ก (19
                    มีนาคม 2552) น. 79 – 155]; คดีพรรคพลังประชาชน -  ศร. ที่ 20/2551 ลงวันที่ 2 ธันวาคม 2551 [รจ. ล.
                    126 ต.20ก (31 มีนาคม 2552) น. 1 – 82]

                       17   ผู้สนใจบทวิเคราะห์เกี่ยวกับพรรคไทยรักไทยซึ่งเกือบจะเรียกได้ว่าเป็นสมบัติของหัวหน้าพรรค โปรดดู
                    Siripan Nogsuan Sawasdee, Thai Political Parties in the Age of Reform, (Bangkok: P. Press Co.,
                    Ltd., 2006) น. 89 – 99.

                       18   โปรดดู กนก วงศ์ตระหง่าน, เรื่องเดิม, น. 59 – 87.
   68   69   70   71   72   73   74   75   76   77   78